คุณค่า ทาง ศิลปะ แบ่ง ได้ กี่ พวก อะไร บ้าง
คำตอบ

  • คุณค่าทาง ด้านศาสนา
  • คุณค่าทาง ด้านประวัติศาสตร์
  • คุณค่าทาง ด้านสุนทรียะหรือความงาม
  • คุณค่าทาง ด้านการเมืองการปกครอง

Contents

คุณค่าของงานศิลปะมีกี่ด้าน

งานทัศนศิลป์ทุกประเภท ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ล้วนมีคุณค่าและ ประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์ทั้ง ๓ ด้าน ได้แก่ คุณค่าทางด้านจิตใจ คุณค่าทางด้านความคิด และสติปัญญา และคุณค่าทางด้านประโยชน์ใช้สอย

อะไรคือคุณค่าของงานศิลปะ

เรารู้กันมานานแล้วว่าศิลปะคือ สิ่งจรรโลงจิตใจมนุษย์ ช่วยให้มนุษย์มีจิตใจที่อ่อนโยน สงบ และไม่หยาบกระด้าง เราใช้ศิลปะบางแขนงช่วยในการเยียวยาความเจ็บป่วยของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ

คุณค่าของงานทัศนศิลป์แบ่งได้กี่แบบ

ผลงานทัศนศิลป์สามารถ แบ่งการรับรู้คุณค่าได้ 2 คุณค่า คือ Page 17 1. คุณค่าทางความงาม เป็นการรวบรวมในเรื่อง ของความประณีต ความละเอียด มีระเบียบ น่าทึ่ง มโหฬาร ความสร้างสรรค์แปลกหูแปลกตา และเป็น สิ่งที่มีคุณงามความดีทาให้ผู้เห็นเกิดความประทับใจ ไปอีกนาน สิ่งเหล่านี้รวมเรียกว่าคุณค่าทางความงาม Page 18 2. คุณค่าทาง

งานศิลปะของไทยมีคุณค่าในด้านใดบ้าง

ศิลปะไทยเกิดจากคติเกี่ยวกับศาสนา ฉะนั้นแล้วศิลปะไทยจึงมีคุณค่าใน การเผยแผ่ศาสนา เช่น การเขียนภาพจิตรกรรมหรือจำหลักเรื่องราวเกี่ยวกับ ชาดก พุทธประวัติ หรือหรือการสร้างเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ โดยอาจสอดแทรกธรรมะหรือกุศโลบายอยู่ในผลงานนั้น ๆ เมื่อคนได้สัมผัสหรือพบเห็นก็จะเกิดการพิจารณาในปริศนาธรรมเหล่านั้น

งานศิลปะท้องถิ่นมีคุณค่าด้านใด

เป็นงานที่มีคุณค่า เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่มีมาตั้งแต่โบราณสืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน เดิม สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจาวัน เป็นเครื่องมือทามาหากิน หรือเพื่อพิธีกรรม ความเชื่อทางศาสนา วัฒนธรรมประเพณีโดยใช้วัสดุง่าย ๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ

ทำไมศิลปะถึงสำคัญ

ทำไมต้องศิลปะ เคยมีคนถามผู้เขียนหลายครั้งมากว่า “ทำไมต้องเรียนศิลปะ ไม่เห็นมีความจำเป็นอะไรเลย” แต่จริงๆ แล้ว “ศิลปะ” นั้นเกี่ยวข้องกับผู้คนและในชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่ตื่นนอนยังหลับตา ตั้งแต่เกิดจนตาย แต่อาจจะเป็นเพราะว่า “ศิลปะ” นั้นอยู่กับชีวิตประจำวันของเรา และใกล้ตัวเราจนบางครั้งเราอาจะลืมเลือนกันไป และหลายๆ คนก็มองเห็นว่า “ศิลปะ” นั้นไม่ได้มีความสำคัญอะไรกับการเรียน หรือกับชีวิต สู้วิชาหลักๆ อย่างเช่นคณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, ภาษาอังกฤษ ฯลฯ ไม่ได้ เพราะเป็นวิชาที่เด็กๆ จะต้องใช้ในการแข่งขันทางด้านการศึกษา ก็ควรที่จะทุ่มเท และผลักดันวิชาต่างๆ เหล่านั้นให้ได้คะแนนดีๆ ดังนั้นความละเอียดอ่อนในทางจิตวิญญาน, จินตนาการ และการมองโลกในแง่ดีด้วยความบริสุทธิ์ โลกที่สวยงามของเด็กๆ ก็จะค่อยๆ เลือนหายไป โดยปัจจัยภายนอกต่างๆ เข้ามารุมเร้า รวมไปถึงการแข่งขันต่างๆ กันตั้งแต่เด็กๆ จนเด็กหลายๆ คนเริ่มสูญเสียจินตนาการ เริ่มสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองและการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอก และเริ่มห่างเหินจากตัวตนของตนเองออกไปเรื่อยๆ “ศิลปะ” จะทำให้คนเริ่มหันกลับมามองภายในของตนเอง และเริ่มจิตใจละเอียดอ่อน เกิดความคิด จินตนาการ และการมองสิ่งต่างๆ ด้วยหัวใจ และสายตาที่ละเอียดอ่อนมากขึ้น จนเคยมีคนกล่าวว่า “การวาดภาพ ระบายสี หรือขีดเขียนเส้นสาย ลวดลายต่างๆ นั้นช่วยจรรโลงจิตใจ ช่วยให้ความคิดสร้างสรรค์ ทำให้จิตใจอ่อนโยน สงบ มีสมาธิ และไม่หยาบกระด้าง” แม้แต่ในแง่มุมของทางวิทยาศาสตร์ ก็ได้มีการค้นพบว่า “การที่มนุษย์ได้วาดภาพหรือระบายสีนั้น เหมือนเป็นการกระตุ้นประสาททั้ง 5 ของมนุษย์ ทำให้เซลล์สมองนั้นมาเชื่อมต่อกันเป็นวงจรประสาท และเมื่อมีการเชื่อมต่อกันเป็นวงจร จัดระเบียบได้ดีขึ้น สมองก็จะมีประสิทธิภาพเพื่มขึ้นตามไปด้วย” หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ในวัยทำงาน วันๆ ที่ต้องทำงาน เผชิญกับความเครียดต่างๆ ทั้งเรื่องงาน หรือผู้ร่วมงาน การทำงาน “ศิลปะ” จะช่วยสร้างสมาธิให้ดีขึ้น ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายความเครียดจากการทำงานประจำวัน ช่วยให้สร้างสรรค์ และปลดปล่อยจินตนาการได้อย่างไม่จำกัด อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาทักษะทางด้านกาย การใช้ระบบประสาทส่วนต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน “ตาดู หูฟัง สมองคิด(ประมวลผล), และถ่ายทอดผ่านไปสู่มือ” เมื่อเกิดการผ่อนคลายของอารมณ์แล้ว สมองก็จะมีประสิทธิภาพในการคิดและจดจำ ลอดความเสียงของการเกิดโรคความจำเสื่อม ฟื้นฟูการใช้ระบบประสาทส่วนต่างๆ เกิดความเพลิดเพลิน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จนกระทั่งอาจจะก่อให้เกิดเป็นรายได้ ทำไมต้อง “ศิลปะ” ก็พอจะมีประโยชน์รวมๆ พอจะกล่าวได้ดังนี้ มีส่วนช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ชีวิต, การเรียน, การทำงาน, มีอารมณ์ดี, สุขภาพจิตดี และหากเราลองสังเกตุดูดีๆ ว่าความสำเร็จต่างๆ หลายอย่าง มักจะมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอๆ ดังคำกล่าวของ “ไอสไตน์” ที่กล่าวเอาไว้ว่า “จินตนาการนั้น สำคัญกว่าความรู้” รวมๆ ไปถึงการสร้างศักยภาพต่างๆ ในการเรียนรู้ และการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น ดังนั้นแล้ว ทั้งผู้ปกครอง, นักเรียน หรือผู้ที่ชื่นชอบในงาน “ศิลปะ” ก็ควรหาโอกาสทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับ “ศิลปะ” อาจจะฝึกฝนด้วยตนเอง หรือไปเรียนตามสถานที่เปิดสอนศิลปะต่างๆ เพื่อจะเป็นการช่วยดึงเด็กๆ รวมไปถึงผู้ปกครอง และตัวคุณ กลับเข้าไปความสงบทางจิตวิญญาน กลับเข้าสู่ภายในตัวตนของตนเอง หลังจากที่ได้ถูกเรื่องราวและสังคมรอบข้าง เหตุการณ์ต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรามาบดบังความคิดและจิตใจอันเป็นอิสระของเรา ดังคำกล่าวของ “ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี” กล่าวเอาไว้ว่า “ชีวิตนั้นสั้น แต่ศิลปะยืนยาว” “ครูช้าง” เชียงใหม่ 2556 : ทำไมต้องศิลปะ

You might be interested:  กาว ยาง ติด รองเท้า ยี่ห้อ ไหน ดี?

ประโยชน์และคุณค่าของงานทัศนศิลป์มีอะไรบ้าง

ทัศนศิลป์สร้างสรรค์มีคุณค่าต่อชีวิตมนุษย์ 3 ด้าน ได้แก่ คุณค่าทางด้านจิตใจ คุณค่าทางด้านความคิดและสติปัญญา และคุณค่าทางด้านประโยชน์ใช้สอย ซึ่งคุณค่าของงานทัศนศิลป์แต่ละด้านล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อชีวิตและสังคมทั้งสิ้น

ประเภทของงานศิลปะแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

ในปัจจุบัน ศิลปะแบ่งประเภทเป็น 3 วิธี ได้ดังนี้ 1. ศิลปะแบ่งตามจุดมุ่งหมายของการสร้างได้แก่ วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ 2. ศิลปะแบ่งตามลักษณะของสื่อในการแสดงออกได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม วรรณกรรม ดนตรีและนาฏกรรม 3. ศิลปะแบ่งตามลักษณะของการรับสัมผัสได้แก่ ทัศนศิลป์ โสตศิลป์ และ โสตทัศนศิลป์

งานวิจิตรศิลป์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี วิจิตรศิลป์ ( อังกฤษ : fine art ) เป็นศิลปะที่พัฒนาขึ้นเพื่อ สุนทรียภาพ หรือความงามเป็นหลัก ต่างจาก ศิลปะประยุกต์ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น เครื่องปั้นดินเผาหรืองานโลหะส่วนใหญ่ ในอดีต วิจิตรศิลป์มีห้าแขนงหลัก ประกอบด้วย จิตรกรรม, ประติมากรรม, สถาปัตยกรรม, ดนตรี และ กวีนิพนธ์ กับศิลปะการแสดง ได้แก่ การละคร และ การเต้นรำ รวมไปถึงภาพต้นแบบเก่าและการวาดเส้นนับว่าเป็นจิตรกรรม เช่นเดียวกับวรรณคดีรูปแบบร้อยแก้ว ที่นับว่าเป็นกวีนิพนธ์ ในปัจจุบัน วิจิตรศิลป์โดยทั่วไปจะรวมถึงรูปแบบที่ทันสมัยด้วย เช่น ภาพยนตร์, การถ่ายภาพ, การสร้างวิดีโอ / การลำดับภาพ, การออกแบบ และ ศิลปะเชิงแนวคิด คำจำกัดความของคำว่า วิจิตรศิลป์ คือ “ทัศนศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ด้านสุนทรียภาพและสติปัญญาโดยตัดสินจากความงามและความหมายเป็นหลัก โดยเฉพาะ จิตรกรรม, ประติมากรรม, การวาดเส้น, การระบายสีน้ำ, กราฟิก และสถาปัตยกรรม” ในความหมายมีความแตกต่างระหว่างวิจิตรศิลป์และศิลปะประยุกต์ ตามที่เข้าใจกันมาแต่เดิม และเป็นที่เข้าใจกันในยุคปัจจุบันคือ การรับรู้คุณภาพความงามต้องใช้วิจารณญาณกลั่นกรอง หรือมีรสนิยมดี ซึ่งแตกต่างจากศิลปะนิยมและการบันเทิง

ลําดับขั้นตอนการวิจารณ์งานศิลปะคือข้อใด

1.ขั้นการบรรยาย (Description) 2.ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis) 3.ขั้นการตีความหมาย (Interpretation) 4.ขั้นการตัดสิน (Judgment)

ส่วนประกอบที่สําคัญที่สุดของทัศนธาตุคืออะไร

เส้น ( Line ) หมายถึง ทัศนธาตุเบื้องต้นที่สำคัญที่สุด เป็นแกนของทัศนศิลป์ทุก ๆ แขนง เส้นเป็นพื้นฐานของโครงสร้างของทุกสิ่งในจักรวาล เส้นแสดงความรู้สึกได้ทั้งด้วยตัวของมันเองและด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่างๆ ขึ้น เส้นที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่เส้นตรงและเส้นโค้ง

คุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมไทยคืออะไร

1. เป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญ และ เชิดชูเกียรติ ของ บุคคล และ ประเทศชาติ 2. เป็นเครื่องที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะประจำชาติ และ ดำรงความเป็นชาติ ไทย 3. เป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อยู่ร่วมกัน ใน สังคมได้อย่างปกติสุข 4. เป็นเครื่องช่วยให้คน ไทย ภูมิใจ ใน ชาติ ไทย

ศิลปไทยมีจุดเด่นอย่างไร

ศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ความงาม อย่างนิ่มนวลมีความละเอียดประณีต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยและจิตใจของคนไทยที่ได้สอดแทรกไว้ใน ผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้น โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของไทย อาจ กล่าวได้ว่าศิลปะไทยสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริม

คุณค่าของศิลปะพื้นบ้านมีอะไรบ้างอย่างไร

ศิลปะพื้นเมือง เป็นมรดกทางปัญญาที่มีค่าที่บรรพบุรุษสืบต่อกันมา เพื่อให้ศิลปะเหล่านั้นคงอยู่ ซึ่งเราทุกคนก็ควรเห็นคุณค่าและความสำคัญของศิลปะพื้นเมืองเหล่านั้น ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานรุ่นต่อๆไปได้รู้จัก และได้เข้าใจว่าสิ่งเหล่านั้นไว้ใช้ทำอะไร และเราทุกคนก็ควรปลูกฝังให้ลูกหลานมีจิตสำนึกรักศิลปะพื้นเมืองด้วย

งานทัศนศิลป์ในท้องถิ่นมีอะไรบ้าง

4.1 งาน ปั้น 4.2 งาน แกะสลัก 4.3 งาน จิตรกรรม 4.4 งาน ผสมผสาน งานทัศนศิลป์

ศิลปะพื้นบ้านมีความสำคัญอย่างไร

Folk Art = ศิลปะพื้นบ้าน คือ เครื่องมือ เครื่องใช้ สิ่งก่อสร้าง

ที่สร้างขึ้นโดยชาวบ้าน โดยใช้ภูมิปัญญาสร้างออกมาให้เห็นเป็นลักษณะเฉพาะถิ่นของตน มักพบได้ทั่วไปตามชุมชนหรือในชนบทตามท้องถิ่นต่างๆ สร้างขึ้นเพื่อสอบสนองประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน ประเพณี ความเชื่อ ของกลุ่มชนในท้องถิ่นนั้นๆ โดยมิได้มุ่งประโยชน์ด้านความงามเป็นหลัก เป็นการสืบทอดมาจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ถ่ายทอดเรียนรู้โดยอาศัยการถ่ายทอดปากเหล่าและการเลียนแบบกัน ทำขึ้นมาเพื่อคนทั่วไปใช้ มิได้เพื่อใช้หรือถ่ายทอดในหมู่บุคคลชั้นสูง มีลักษณะที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ผูกพันหรือขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ทฤษฎีทางศิลปะใดๆ

Craft = งานหัตถกรรม

งานศิลปะพื้นบ้านพัฒนาสู่งานฝีมือสุดประณีตของชนชั้นปกครอง เกิดเป็นงานหัตถกรรมของช่างฝีมือชั้นสูงและวิวัฒนาการรูปลักษณ์ที่ห่างไกลออกไปเรื่อยๆ สามารถสะท้อนฐานะทางสังคม รวมถึงแบ่งแยกชนชั้นต่างๆ ในยุคของเทคโนโลยีและการปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กับงานหัตถกรรม จากเดิมที่เน้นงานฝีมือ ใช้แรงงานคน และมีความพิถีพิถัน ถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักร สินค้าจากโรงงานราคาถูก ทำให้งานหัตถกรรมค่อยๆ ถูกลดค่าและหายากมากในปัจจุบัน มีคนบางกลุ่มที่พยายามจะรักษางานหัตถกรรมหรือฝีมือไว้ เพราะถือเป็นสิ่งที่สามารถสร้างมูลค่าและบ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ได้ ซึ่งนอกจากจะสร้างมูลค่าทางการเงินแล้ว ยังมีคุณค่าทางจิตใจอีกด้วย “งานหัตถกรรมหรืองานฝีมือ” แต่ละท้องถิ่น หมู่บ้าน มีความแตกต่างกันออกไปตามอารยธรรม วัฒนธรรมนั้นๆ และเป็นเครื่องหมายแสดงอารยธรรมและความเจริญของคนในชาติได้อย่างชัดเจน

ระหว่าง “งานคราฟ” กับ “งานศิลปะพื้นบ้าน” ไม่จำเป็นต้องนิยามแยกจากกันอีกต่อไป เพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง งานศิลปะพื้นบ้านที่ผลิตขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยเป็นหลักแบบชาวบ้านนั้น ถูกพัฒนากลายเป็นงานหัตถกรรมที่ต้องอาศัยความประณีตและพิถีพิถันในการสร้างสรรค์ เพื่อให้ผลงานที่ออกมาแต่ละชิ้นสวยงามและทรงคุณค่า เพื่อการตกแต่งภายในบ้านที่สวยงามและจับต้องได้ เป็นหัตถกรรมร่วมสมัยโดยใช้สหวิทยาการในการสร้างสรรค์หรืออาจจะใช้เครื่องมือจากเทคโนโลยีดิจิทัลก็ได้

ประโยชน์และคุณค่าของงานทัศนศิลป์มีอะไรบ้าง

ทัศนศิลป์สร้างสรรค์มีคุณค่าต่อชีวิตมนุษย์ 3 ด้าน ได้แก่ คุณค่าทางด้านจิตใจ คุณค่าทางด้านความคิดและสติปัญญา และคุณค่าทางด้านประโยชน์ใช้สอย ซึ่งคุณค่าของงานทัศนศิลป์แต่ละด้านล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อชีวิตและสังคมทั้งสิ้น

ประโยชน์ ใน การเรียนศิลปะ มี อะไร บ้าง

เรียนศิลปะแล้วได้อะไร? – เมื่อเราทราบถึงนิยามของศิลปะ ว่าศิลปะคืออะไรและอะไรที่นับว่าเป็นศิลปะ เรามาดูประโยชน์ที่ได้จากการเรียนศิลปะกัน ว่าเรียนศิลปะแล้วได้อะไรบ้าง!?

พัฒนาสมองด้านจินตนาการ ปฏิเสธไม่ได้ว่าการฝึกฝนทักษะด้านศิลปะเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยจินตนาการเป็นอย่างมาก ต้องคิดว่าจะลากเส้นแบบไหน จะวาดรูปอะไร ลงสีอย่างไร จะเลียนแบบอย่างไรให้เหมือน หรือจะทำอย่างไรให้แตกต่าง การเรียนรู้และลงมือทำอยู่เรื่อย ๆ จึงเป็นการทำให้สมองได้พัฒนามากขึ้น สร้างความเพลิดเพลิน ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน จะเป็นเด็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ ศิลปะมีส่วนช่วยในการสร้างความเพลิดเพลิน สร้างสุนทรีย์แก่ทุกคนเสมอ การเรียนศิลปะทำให้ผู้เรียนรู้จักปลดปล่อยจินตนาการผ่านงานศิลปะโดยไม่มีขอบเขต ไม่มีกรอบกั้น ไม่มีกฎว่าอะไรถูกอะไรผิด คลายเครียด การเรียนศิลปะจะทำให้ได้เรียนรู้ที่จะสื่อสารและถ่ายทอดบางอย่างผ่านผลงาน เช่น ภาพวาดที่มีการลงลายเส้นอย่างรุนแรง ใช้สีโทนร้อน อาจเป็นการระบายความรู้สึกโกรธของผู้วาด ซึ่งการได้สื่อสารความรู้สึกนี้ผ่านภาพวาดจะช่วยให้ผู้วาดคลายความเครียดหรือบรรเทาอารมณ์นั้น ๆ ได้ มองเห็นถึงทักษะของตนเอง เช่น บางคนถนัดวาดภาพเสมือน วาดการ์ตูน บางคนมีเซ้นส์ในการเลือกใช้สีได้ดี บางคนมีทักษะในการปั้น ขณะเดียวกันก็สามารถฝึกฝนทักษะในด้านที่ตนเองไม่ถนัดให้เก่งขึ้นได้ด้วย ได้ทักษะติดตัวนำไปประยุกต์ใช้ได้ เช่น คนเป็นเชฟก็นำความรู้เรื่องการจัดตกแต่ง เรื่องความสมดุลไปใช่เวลาแต่งจานอาหาร คนเรียนหมอก็ใช้ทักษะการวาดรูปในการหัดวาดรูปกายวิภาค รูปอวัยวะต่าง ๆ เพื่อการศึกษาได้

You might be interested:  รองเท้า วิ่ง Mizuno รุ่น ไหน ดี?

ศิลปะอยู่รอบตัวเราเสมอ การเรียนรู้ศิลปะไม่ได้อยู่แค่ภายในห้องเรียน เพราะมนุษย์สามารถเรียนรู้ศิลปะได้จากประสบการณ์ที่พบเจออีกด้วย การเรียนรู้ศิลปะจึงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทั้งที่เรารู้ตัวและไม่รู้ตัว ที่สำคัญคืออย่าคิดว่าศิลปะ จินตนาการไม่ใช่สิ่งสำคัญ ลองคิดดูสิว่าจินตนาการของมนุษย์ที่อยากบินได้เหมือนนกนั้นเป็นจุดเริ่มต้นทำให้เรามีเครื่องบินกันในทุกวันนี้ แล้วต่อไปมนุษย์จะสร้างจินตนาการแบบไหนให้เกิดขึ้นจริงบนโลกใบนี้อีกกันนะ : ศิลปะคืออะไร? ทำไมเราถึงควรส่งเสริมให้เด็ก ๆ ได้รับการเรียนศิลปะ!?

งานศิลปหัตถกรรมคืองานประเภทใด

น. ศิลปวัตถุที่เป็นผลงานประเภทศิลปะประยุกต์มีจุดประสงค์และความต้องการในด้านประโยชน์ใช้สอย เช่นงานโลหะ งานถักทอ งานเย็บปักถักร้อย.