ดังนั้น เราจึงได้คัดสรร 10 รองเท้าส้นสูง จากแบรนด์ชื่อดังมากมาย เช่น O&B, TAYWIN, Crocs, Nine West และ Shu ที่มาพร้อมดีไซน์สวยงามและคุณภาพระดับพรีเมียม รวมทั้งนำ วิธีการเลือกรองเท้าส้นสูง ที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้มาแบ่งปัน ไม่ว่าคุณจะเป็นสาวข้อเท้าใหญ่, ช่วงขาสั้น, ช่วงขายาว หรือหน้าเท้ากว้าง ก็จะสามารถหารองเท้าส้นสูงที่เหมาะสมและสวยถูกใจมาใส่ได้แน่นอน
Contents
หน้าเท้ากว้างใส่รองเท้าอะไร
วิธีเลือกส้นสูงให้เหมาะกับรูปเท้า เจ้าสาวเดินยิ้มได้ชิลๆ ไม่มีปวดเมื่อย – Photo from : Rene Caovilla, Bella Belle, Shopbob 1. สาวเท้าแบน ลักษณะที่เห็นได้ชัดคือ ไม่ค่อยมีอุ้งเท้า เนื้อเท้าน้อย เวลายืนหรือเดินฝ่าเท้าจะแบนราบไปกับพื้น ทำให้เท้ารับน้ำหนักตัวผิดปกติ ถ้าให้บอกความจริงคือ สาวๆ เท้าแบนไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูง แต่สำหรับว่าที่เจ้าสาวคนไหนที่อยากสวยสง่าในวันสำคัญ ควรเลือกรองเท้าที่ไม่สูงมาก หรือเรียกกันว่า Kitten Heels สูงแค่ 1-2 นิ้ว เพื่อลดผลกระทบต่อกล้ามเนื้อและกระดูกเท้า กระดูกข้อเท้า ไปจนถึงกระดูกเข่า และกระดูกสันหลัง สไตล์รองเท้าที่แนะนำ คือ รองเท้าแบบปิดหมด หรือมีลวดลายบริเวณหน้าเท้า เพื่อพรางสายตาให้เท้าดูมีเนื้อมีหนังมากขึ้น
Photo from : Rene Caovilla, Pinterest 2. สาวเท้าบาน สำหรับสาวๆ ที่เท้าบาน หน้าเท้ากว้าง แนะนำว่าให้เลี่ยงรองเท้าหัวแหลม หรือหัวปิด เพราะจะยิ่งบีบช่วงหน้าเท้าให้คุณเจ็บ โดยเฉพาะนิ้วก้อยที่บางครั้งขึ้นมาเกยอยู่บนนิ้วนาง ใส่ไปไม่ทันไรรับรองว่าต้องเปลี่ยน ควรเลือกรองเท้าหน้ากว้าง หรือปลายเปิดจะดีที่สุด แล้วทำสีเล็บให้สวยโชว์ไปเลยดีกว่า ส่วนรองเท้าส้นสูง สามารถเลือกความสูงได้ตามสะดวก เลือกส้นรองเท้าแบบเรียวผอม สไตล์ Stilettos Heel เพื่อพรางสายตาให้เท้าดูเรียวยาว และไม่ควรเลือกคู่ที่มีแพลตฟอร์มด้านหน้าหนาเพราะจะทำให้เท้าดูบานยิ่งขึ้น
Photo from : shoeyl, Pinterest 3. สาวเท้าอูมและขาใหญ่ เป็นลักษณะเท้าที่มีเนื้อเยอะ ช่วงขาใหญ่ ซึ่งส่วนมากพบในสาวเจ้าเนื้อ จึงต้องอาศัยการเลือกรองเท้าที่เหมาะสมเพื่อช่วยพรางเท้าและขาให้ดูเพรียว หากใส่ในโอกาสอื่นๆ หรือเป็นเพื่อนเจ้าสาวแนะนำว่าควรเลือกรองเท้าสีเข้ม เพื่อให้สีช่วยพรางสายตา ทำให้หน้าเท้าดูเล็กลง สำหรับเจ้าสาวที่ต้องใส่ชุดสีขาว ควรเลือกรองเท้ามีลวดลายปกปิดหน้าเท้าที่เป็นจุดอ่อน ในขณะเดียวกัน ไม่ควรเลือกรองเท้าที่มีสายรัดไขว้จนแน่นเกินไป ส้นไม่หนา และไม่สูงมาก เลี่ยงใส่รองเท้าหัวแหลมที่จะทำให้เท้าและขาตันมากกว่าเดิม สไตล์รองเท้าที่เหมาะสมและช่วยพรางให้เท้าเรียวสวยคือ Ankle Strap Heels มีสายรัดข้อเท้าเส้นเล็ก ทำหน้าที่เสมือนเป็นเส้นแบ่งระหว่างเท้าและช่วงขา ช่วยให้ดูมีข้อเท้าชัดเจน แนะนำอีกนิดว่า สาวเท้าอูมใหญ่ ไม่ควรลองรองเท้าเพียงไซส์เดียวแล้วตัดสินใจซื้อเลย ควรลองไซส์ที่ใหญ่ขึ้นมาอีกหนึ่งไซส์แล้วสังเกตว่าใส่สบายมากกว่าหรือไม่ เพราะมีความเป็นไปได้ว่า เท้าอูมๆ ของคุณอาจขยายขึ้นอีกเมื่อต้องยืนหรือเดินนานๆ ฉะนั้นถ้าเลือกรองเท้าที่ไซส์ฟิตพอดีเป๊ะ อาจทำให้เจ็บได้ในภายหลัง
Photo from : Nasty Gal, Lulus 4. สาวที่อุ้งเท้าโค้งมาก ลักษณะเท้าแบบนี้ดูง่ายๆ คือ ฝ่าเท้าของคุณจะมีส่วนเว้าที่มากกว่าปกติ กลางเท้าไม่มีพื้นที่ช่วยรับน้ำหนัก ทำให้มีอาการปวดบริเวณฝ่าเท้าด้านหน้าและส้นเท้าอยู่เสมอ เนื่องจากเป็นจุดรับน้ำหนักเวลายืนหรือเดิน ดังนั้น ควรเลือกรองเท้าที่มีส่วนเสริมอุ้งเท้าให้เต็ม เพื่อช่วยรับน้ำหนักจากฝ่าเท้าด้านหน้าและส้นเท้า ที่สำคัญคือ ต้องเลือกรองเท้าพื้นนิ่ม มีความยืดหยุ่น และใส่รองเท้ามีส้นเพื่อช่วยถ่ายเทน้ำหนัก รองเท้าที่เหมาะกับคนอุ้งเท้าโค้งมากๆ คือ Wedges Shoes (รองเท้าส้นตึก ) หรือถ้าไม่ชอบ ก็สามารถเลือกรองเท้าส้นสูงที่แพลตฟอร์มด้านหน้าหนา เพื่อให้ความสูงระหว่างฝ่าเท้าและส้นไม่ต่างกันมาก ถ้าจะให้ดีอาจเสริมแผ่นรองฝ่าเท้าเพื่อเติมเต็มส่วนเว้า ทำให้ยืนและเดินสบายมากขึ้น
Photo from : emmalinebride.com, pouted, etsy 5. สาวเท้าเรียวสวย สาวเท้าเรียวสวยคงต้องขอบคุณคุณพ่อคุณแม่ที่ส่งต่อพันธุกรรมเป๊ะปังแบบนี้มาให้นะคะ เพราะรูปเท้าเรียวสวย ไม่แบนไป ไม่อูมเกิน ฝ่าเท้ารับน้ำหนักได้ดีแบบนี้ใครๆ ก็อยากมี ใส่รองเท้าสไตล์ไหนก็สวยไปเสียหมด แต่เรื่องที่อยากให้ระวังคือ ควรเลือกรองเท้าที่พื้นนิ่ม ใส่สบาย ไม่ฟิตจนเกินไป ถ้าไม่จำเป็นอย่าเลือกรองเท้าที่สูงเกิน 3 นิ้ว หรือความสูงระหว่างฝ่าเท้ากับส้นเท้าต่างกันมาก เพราะน้ำหนักจะเทไปที่ฝ่าเท้าด้านหน้าและนิ้วเท้าจนคุณรู้สึกปวดและชา รวมถึงข้อเท้าจะงอตามความลาดของพื้นร้องเท้า ส่งผลให้ปวดข้อเท้า หัวเข่า และหลัง การใส่รองเท้าส้นสูงที่เหมาะกับรูปเท้า จะช่วยให้เจ้าสาวเดินสะดวก ยืนสบาย และเสริมลุคให้เจ้าสาวดูสง่ามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ควรยืนหรือเดินบนรองเท้าส้นสูงติดกันนานเกิน 3-4 ชั่วโมง แนะนำให้หาเวลานั่งพักขาและเท้าอยู่เรื่อยๆ เพราะต่อให้คุณไม่รู้สึกเจ็บเท้า แต่การใส่รองเท้าส้นสูงแบบไม่นั่งพักเลย ก็ยังส่งผลกับข้อเท้า เข่า และหลังอยู่ดี เรื่องราวของรองเท้าเจ้าสาวยังมีให้ค้นหากันอีกเยอะ ตามไปอ่านต่อได้เลย
Do & Don’t กลเม็ดเคล็ดลับในการเลือกรองเท้าเจ้าสาว อย่างถูกวิธี เริดให้สุดแล้วหยุดที่ปลายเท้า กับการจับคู่รองเท้าชุดไทยสุดเป๊ะ เคล็ดลับตัดรองเท้าแต่งงานยังไงให้ได้ดั่งใจ แถมใส่สบายในวันวิวาห์
ดูยังไงว่าหน้าเท้ากว้าง
(ตำเหน่งที่กว้างสุดของเท้าคือกระดูกข้อนิ้วโป้ง-ข้อนิ้วก้อย) นำสายวัด ด้านเซ็นติเมตร พันรอบกลางเท้าโดยวางปลายสายวัดวนจบรอบเท้าในส่วนของหลังเท้า ตามรูปด้านล่างข้อควรระวัง : เวลาวัดอย่าผ่อนสายวัดหลวม หรือรัดแน่นจนเกินไป
ทำยังไงให้เท้าหายบาน
5 วิธี เลือกรองเท้าอย่างไรให้เหมาะกับรูปเท้าตัวเอง – 21 พฤศจิกายน 2561 5 วิธี เลือกรองเท้าอย่างไรให้เหมาะกับรูปเท้าตัวเอง เชื่อว่าสาวๆ หลายคนคงไม่เคยสังเกตรูปเท้าของตัวเอง ที่อาจมีลักษณะแตกต่างจากคนอื่นอยู่เล็กน้อย จึงเป็นสาเหตุให้รองเท้าที่เราใส่สบาย เพื่อนอาจจะใส่ไม่สบาย หรือไม่ก็หาซื้อรองเท้ายากไปเลย ไลฟ์สไตล์ไทยรัฐ จึงอยากจะมาแนะนำคุณผู้หญิงทุกคน เกี่ยวกับการเลือกซื้อรองเท้าให้สวมใส่ได้สบายเหมาะกับรูปเท้าของตัวเอง ส่วนขั้นในการเช็กรูปเท้าเบื้องต้นก็ง่ายๆ เริ่มจากตรวจสอบการเดิน โดยสังเกตท่าทางการเดิน การยืน การลงน้ำหนักของเท้า การวัดขนาดเท้า การเช็กสภาพเท้า ไม่ว่าจะเป็นฝ่าเท้า ลักษณะเนื้อผิว รวมถึงความสามารถในการเคลื่อนไหวเท้าพื้นฐาน 4 อย่าง ได้แก่ การกระดกข้อเท้าขึ้นและลง การปัดหน้าเท้าเข้าและออก จากนั้นลองมาดูว่าสาวๆ มีรูปเท้าแบบไหน พร้อมนำเคล็ดลับไว้เลือกรองเท้าคู่ใจตามรูปเท้าด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ 1.
- เท้าแบนราบ DO สาวรูปเท้าแบนราบ เนื้อเท้าน้อย ควรใส่รองเท้าคัตชู แบบปิดหมดหรือแบบแพลตฟอร์ม จะช่วยเสริมให้ดูอิ่ม มีเนื้อเท้ามากขึ้น หรือรองเท้าสานที่มีลวดลายด้านหน้า เพื่ออำพรางส่วนที่เป็นจุดอ่อน DON’T ไม่ควรใส่รองเท้าเปลือยหรือรองเท้าที่เผยให้เห็นเนื้อเท้า เพราะจะยิ่งเห็นจุดด้อยที่เท้ามากขึ้น 2.
- ปลายเท้าบาน กว้าง เท้าอูมหนา หน้าเท้ากว้าง DO ปลายเท้าบานน่าจะเป็นรูปเท้าที่สาวๆ หลายคนไม่ชื่นชอบ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะสามารถแก้ไขได้ ด้วยการเลือกรองเท้าที่มีหัวกว้างหรือหัวเหลี่ยม ควรเลือกส้นรองเท้าสูงเรียว จะทำให้ช่วงขาดูเพรียวยาวขึ้น DON’T ไม่ควรเลือกรองเท้าหัวแหลม เพราะจะบีบปลายเท้า หลีกเลี่ยงรองเท้าแบบแพลตฟอร์มด้านหน้าสูง เพราะจะทำให้เท้าดูตัน 3.
เท้าใหญ่อูม ช่วงขาใหญ่ DO สาวเจ้าเนื้อที่มีเท้าใหญ่อูม ช่วงขาใหญ่ ควรเลือกรองเท้าสีเข้ม เพราะจะช่วยพรางให้ดูเล็กลง และส้นไม่สูงจนเกินไป นอกจากนี้ ควรเลือกรองเท้าที่หัวไม่แหลมเกินไป ส้นเพรียว ส่วนสาวๆ ที่อยากใส่รองเท้ามีลวดลาย ควรเลือกที่มีลวดลายเล็กน้อย หรือรัดข้อเท้าเส้นบางๆ DON’T ควรหลีกเลี่ยงรองเท้าที่เผยให้เห็นเนื้อเท้า 4.
ลักษณะอุ้งเท้าโค้ง สาวๆ หลายคนอาจนึกภาพไม่ออก เรามีคำอธิบายนั่นก็คือ ลักษณะอุ้งเท้าที่มีส่วนโค้ง ส่วนเว้ามาก จะมีเนื้อน้อยกว่าอุ้งเท้าแบบอื่นๆ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาปวดบริเวณฝ่าเท้าด้านหน้าและส้นเท้า เพราะการรับน้ำหนักของอุ้งเท้าส่วนกลางหายไป DO ควรเลือกรองเท้าที่มีลักษณะเสริมอุ้งเท้า เพื่อช่วยกระจายน้ำหนักจากฝ่าเท้าด้านหน้าและส้นเท้ามาที่อุ้งเท้า และควรเลือกรองเท้าที่มีพื้นนิ่มและมีความยืดหยุ่น หรือใส่รองเท้ามีส้น DON’T ควรหลีกเลี่ยงรองเท้าที่มีพื้นแข็ง เพราะจะทำให้ปวดเมื่อยได้ง่าย เนื่องจากการกดน้ำหนักจากฝ่าเท้าด้านหน้าและส้นเท้ามีค่อนข้างเยอะ 5.
รูปเท้าเรียวยาวได้รูป เป็นที่น่าอิจฉาของสาวๆ หลายคนที่มีรูปเท้าเรียวยาวได้รูป สำหรับสาวๆ ที่มีรูปเท้าเรียวยาวได้รูป สามารถเลือกใส่รองเท้าได้หลากสไตล์ เพราะไม่ว่าจะเลือกใส่รองเท้าทรงไหนก็ดูสวยไปหมด เพียงเท่านี้ เราก็สามารถเลือกรองเท้าสวยๆ ที่มีดีไซน์เหมาะกับรูปเท้าของเราได้แล้ว แต่ถ้ายังไม่แน่ใจ ให้ลองไปเลือกที่โซนรองเท้าผู้หญิงของห้างเซ็นทรัล เพราะที่นั่นจะมี Shoe Specialist ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลือกรองเท้าให้เหมาะกับรูปเท้าคอยให้ความช่วยเหลืออยู่จ้า Credit : https://www.thairath.co.th/content/1355803
รองเท้าคัชชูสุขภาพ ยี่ห้อไหนดี
Aerosoft รองเท้าคัทชูเพื่อสุขภาพ รุ่น Arch support (หนุนอุ้งเท้า) – รูปภาพจาก jellybunny.com ราคา 800 บาท* สำหรับสาว ๆ คนไหนที่กำลังมองหาเพื่อใส่ทำงาน เดิน หรือทำกิจกรรมตลอดทั้งวันก็อยากจะแนะนำเป็น Aerosoft รุ่น Arch support รุ่นนี้เลยค่ะเพราะว่ามันถูกผลิตมาจากผ้าไมโครไฟเบอร์คุณภาพสูงและ PU ฟอร์มมิ่งที่มีความหนาแน่นที่เฉพาะจุดทำให้พื้นรองเท้าสามารถช่วยรับและกระจายแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี แถมยังขึ้นรูปมาตามรูปทรงของเท้าทำให้ใส่สบายกระชับและให้การซัพพอร์ตที่ตรงจุด ในส่วนของน้ำหนักก็ถือว่าเบามาก ๆ ค่ะทำให้ใส่แล้วรู้สึกสบายตัว เคลื่อนไหวทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้เต็มที่และนอกจากนี้มันก็ยังทนทานมาก ๆ ไม่ว่าจะสภาพอาการแบบไหนก็พร้อมลุยโดยที่วัสดุไม่มีทางหลุดร่อนออกมาอย่างแน่นอนเลยค่ะ
วัสดุ | ไมโครไฟเบอร์และ PU |
---|---|
ขนาด/ไซซ์ | 35 – 41 (EU) |
สี | ดำ |
รองเท้าหุ้มข้อ แบรนด์ไหนดี
เท้าหุ้มข้อ ยี่ห้อไหน รุ่นไหน ที่เหมาะกับคุณที่สุด –
รองเท้าหุ้มข้อหนังสไตล์คลาสสิควินเทจ ให้ลุคที่ดูเท๋และทะมัดทะแมง: Dr. Martens รุ่น 1460 Smooth Lace-Up Boots รองเท้าหุ้มข้อที่เหมาะสำหรับการใส่กิจกรรมเอ็กซ์ตรีมโดยเฉพาะ: VANS รุ่น SK8 (Hi) รองเท้าหุ้มข้อที่ได้รับความนิยมมากที่สุด: Converse รุ่น Chuck Taylor All Star 70 hi (Classic Repro) รองเท้าหุ้มข้อสำหรับการเดินป่า ให้การยึดเกาะทุกสภาพผิวได้อย่างยอดเยี่ยม: Converse รุ่น Run Star Hike รองเท้าหุ้มข้อรุ่นเก๋าสำหรับสายสตรีท : PRO-Keds รุ่น PK54477 Royal Hi รองเท้าหุ้มข้อสำหรับสาว ๆ มาพร้อมลวดลายน่ารัก ไม่ซ้ำใคร: Converse รุ่น Chuck 70 Embroidered Garden Party Hi
หน้าเท้า 4E คืออะไร
– 4E : หน้าเท้ากว้างมาก (Extra Wide)
วัดขนาดเท้าตอนไหนดี
การวัดไซส์รองเท้า ควรทำในช่วงเย็น เนื่องจากเท้าของคุณจะขยายใหญ่เต็มที่ แต่ในช่วงเช้า เท้าจะหดตัว ทำให้การวัดไซส์รองเท้าอาจคลาดเคลื่อนได้ค่ะ
พื้นรองเท้า คือตรงไหน
สำหรับ sneakerhead มือใหม่แล้ว การจดจำชื่อและทำความเข้าใจกับส่วนประกอบของ sneakers ที่มีมากมายและบางครั้งก็แตกต่างกันไปในแต่ละรุ่นนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย ทำให้หลายคนสับสน เรียกผิดเรียกถูก จนอาจสื่อสารกันผิดพลาดได้ หรือไม่รู้ว่าชิ้นส่วนแต่ละชิ้นของรองเท้าที่ตัวเองใส่อยู่นั้นมีเอาไว้ทำไม แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นคอรองเท้าหรือไม่ก็ตาม หากเข้าใจส่วนประกอบต่างๆ ก็น่าจะช่วยให้สามารถเลือกซื้อรองเท้าคู่ใหม่ได้ถูกใจยิ่งขึ้น เราเลยขออาสารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชิ้นส่วนสำคัญของ sneakers มาเผยแพร่ไว้ตรงนี้ เพื่อเป็นอีกแหล่งอ้างอิงหนึ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์แก่ทุกคน โดยทั่วไปแล้ว sneakers ก็มีส่วนประกอบหลักคล้ายคลึงกับรองเท้าทั่วไป แบ่งหยาบๆ ออกเป็น 2 ส่วนหลักคือ ” upper ” หรือส่วนบน และ ” sole ” หรือส่วนล่าง แต่ละส่วนจะมีชิ้นส่วนย่อยอีกมากมาย ในบทความนี้เราจะคัดเฉพาะชิ้นส่วนที่พบเห็นได้ทั่วไปใน sneakers ซึ่งบางชิ้นส่วนอาจจะมีใน sneakers แค่บางรุ่นเท่านั้น แต่มีการพูดถึงบ่อย จึงนำมารวมเอาไว้ด้วย จะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย upper : ใช้เรียกส่วนบนของรองเท้าทั้งหมดที่ห่อหุ้มเท้าส่วนบนตั้งแต่ปลายเท้า หลังเท้า ไล่ไปถึงส้นเท้าเอาไว้ มีไว้เพื่อให้รองเท้าคงรูปและกระชับขณะสวมใส่ ซึ่งมีทั้งแบบขึ้นรูปเป็นชิ้นเดียว และแบบที่ประกอบด้วยหลายชิ้นส่วนที่ทำจากวัสดุหลักหลากหลายชนิดตั้งแต่วัสดุ ธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย หรือหนังชนิดต่างๆ ไปจนถึงวัสดุสังเคราะห์อย่าง โพลีเอสเตอร์ ไนลอน เป็นต้น ขึ้นอยู่การออกแบบ แต่ส่วนใหญ่จะเน้นวัสดุที่น้ำหนักเบา ยืดหยุ่น รวมทั้งระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น มักตกแต่งด้วยสีสัน ลวดลาย โลโก้ สัญลักษณ์ต่างๆ ของแบรนด์หรือรองเท้ารุ่นนั้นๆ เพื่อความสวยงามและจดจำได้ง่าย ประกอบด้วยชิ้นส่วนย่อยต่อไปนี้ 1.
toe box : ส่วนที่ห่อหุ้มบริเวณหัวรองเท้าเอาไว้เพื่อความแข็งแรง คงรูป และช่วยเพิ่มเนื้อที่ให้นิ้วเท้าขยับได้สบายขึ้น ทั้งยังป้องกันแรงกระแทกต่อนิ้วเท้าไปในตัว มักทำด้วยวัสดุที่แข็ง เช่น แผ่นยาง หรือแผ่นหนังหนาๆ ในบางรุ่นจะใช้ปลอกรูปทรงครึ่งวงกลม เรียกว่า “toe puff” หรือ “toe cap” เสริมอีกชั้น 2. vamp : คือส่วนที่อยู่เหนือ toe box ปิดบริเวณนิ้วเท้าด้านบน ชิ้นส่วนนี้มักใช้วัสดุที่มีความยืดหยุ่นเพื่อไม่ให้เสียดสีนิ้วเท้าจนเกิดตาปลา upper : ใช้เรียกส่วนบนของรองเท้าทั้งหมดที่ห่อหุ้มเท้าส่วนบนตั้งแต่ปลายเท้า หลังเท้า ไล่ไปถึงส้นเท้าเอาไว้ มีไว้เพื่อให้รองเท้าคงรูปและกระชับขณะสวมใส่ ซึ่งมีทั้งแบบขึ้นรูปเป็นชิ้นเดียว และแบบที่ประกอบด้วยหลายชิ้นส่วนที่ทำจากวัสดุหลักหลากหลายชนิดตั้งแต่วัสดุ ธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย หรือหนังชนิดต่างๆ ไปจนถึงวัสดุสังเคราะห์อย่าง โพลีเอสเตอร์ ไนลอน เป็นต้น ขึ้นอยู่การออกแบบ แต่ส่วนใหญ่จะเน้นวัสดุที่น้ำหนักเบา ยืดหยุ่น รวมทั้งระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น มักตกแต่งด้วยสีสัน ลวดลาย โลโก้ สัญลักษณ์ต่างๆ ของแบรนด์หรือรองเท้ารุ่นนั้นๆ เพื่อความสวยงามและจดจำได้ง่าย ประกอบด้วยชิ้นส่วนย่อยต่อไปนี้ 1.
toe box : ส่วนที่ห่อหุ้มบริเวณหัวรองเท้าเอาไว้เพื่อความแข็งแรง คงรูป และช่วยเพิ่มเนื้อที่ให้นิ้วเท้าขยับได้สบายขึ้น ทั้งยังป้องกันแรงกระแทกต่อนิ้วเท้าไปในตัว มักทำด้วยวัสดุที่แข็ง เช่น แผ่นยาง หรือแผ่นหนังหนาๆ ในบางรุ่นจะใช้ปลอกรูปทรงครึ่งวงกลม เรียกว่า “toe puff” หรือ “toe cap” เสริมอีกชั้น 2.
4. aglets /lace tips: ส่วนหุ้มปลายเชือกรองเท้าทั้งสองข้าง มักห่อหุ้มด้วยพลาสติก หรืออะลูมิเนียมเพื่อให้ปลายเชือกทนทาน ไม่หลุดลุ่ย และร้อยได้ง่ายขึ้น ส่วนใหญ่มีผิวเรียบ ยกเว้นในรองเท้าบางรุ่นที่มีการตกแต่ง aglet เพื่อความสวยงาม เช่น Nike Air Yeezy II ที่ทำ aglet เป็นสีทองและสีเงิน ทรงสี่เหลี่ยม สามารถถอดเปลี่ยนได้ ดูโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์สุดๆ
6. eyelet : เป็นรูที่เจาะไว้สำหรับร้อยเชือกผูกรองเท้า มักหุ้มด้วยห่วงยาง พลาสติก เหล็ก หรืออะลูมิเนียม ที่เรียกว่า “ตาไก่” เพื่อความทนทาน ส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็นวงกลม หรือตัว D ที่เรียกว่า ” D-ring ” และในบางรุ่นอาจใช้ eyelet ผสมกันทั้งสองแบบ
7. tongue : หรือ “ลิ้นรองเท้า” เป็นแผ่นยาวที่มีไว้เพื่อปิดหลังเท้าให้กระชับและป้องกันการเสียดสีกับเชือกโดยตรง 8. collar : หรือ “คอรองเท้า” ใช้เรียกส่วนที่เป็นขอบบนของรองเท้าและมีสันหุ้มช่วงข้อเท้าเอาไว้ในระดับความสูงที่แตกต่างกันไปในแต่ละรุ่นและการใช้งาน มักบุนวมและรับกับสรีระของข้อเท้าเพื่อความกระชับและป้องกันอาการบาดเจ็บ
9. heel tab : ส่วนที่อยู่ใต้ collar บริเวณส้นเท้า มีไว้เพื่อความกระชับและป้องกันการบาดเจ็บที่เอ็นร้อยหวาย
12. lining : หรือ “ซับในรองเท้า” มีไว้เพื่อเพิ่มความนุ่มสบายขณะสวมใส่และเพื่อยืดอายุการใช้งานรองเท้า ผลิตจากวัสดุหลากหลายชนิดที่มีความนิ่ม เช่น หนัง ผ้า และใยสังเคราะห์ เป็นต้น
sole : หรือพื้นรองเท้า ใช้เรียกส่วนล่างของรองเท้าทั้งหมดทั้งด้านในและด้านนอก เชื่อมต่อกับ upper ด้วยการติดกาวหรือเย็บ วัสดุที่นิยมใช้กันมีมากมายตั้งแต่ ใยสังเคราะห์, ยาง, พลาสติก, โฟมชนิดต่างๆ, PVC, หรืออาจผสมหลายวัสดุเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีคุณสมบัติหลากหลายทั้งความนุ่มสบาย น้ำหนักเบา ยืดหยุ่น รองรับแรงกระแทกได้ดี และทนทานในขณะเดียวกัน ซึ่ง sole ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่อไปนี้ 1.
2. midsole /middle sole: พื้นรองเท้าชั้นกลาง มีความหนามากที่สุดในส่วนประกอบทั้งหมด มักทำด้วยวัสดุอย่าง EVA, หรือ PU ที่มีความยืดหยุ่น ภายในอาจมีการบุด้วยถุงลมอย่างเทคโนโลยี Nike Air ในรองเท้า Nike Air Max, บุด้วยเจล เช่น ASICS GEL ในรองเท้า ASICS GEL-Lyte, หรือใช้โฟม เช่น Boost ในรองเท้า Adidas Ultra Boost หรือ วัสดุอื่นๆ ที่บริเวณส้นเท้าและอาจมีเพิ่มเติมที่ปลายเท้า หรือครอบคลุมทั่วทั้งฝ่าเท้าเพื่อความนุ่มสบายและดูดซับแรงกระแทกขณะเหยียบ พื้น ซึ่ง midsole ที่ออกแบบมาดีจะทำให้การก้าวเท้าเป็นธรรมชาติ ทรงตัวได้ดี รวมถึงลดอาการบาดเจ็บได้ ถือเป็นส่วนที่เรียกได้ว่า “สำคัญที่สุด” และเต็มไปด้วยเทคโนโลยีมากที่สุดของรองเท้าโดยเฉพาะในรองเท้าวิ่ง
3. outsole /outersole/outer sole: พื้นรองเท้าด้านนอก เนื่องจากเป็นส่วนที่ต้องสัมผัสพื้นอยู่เสมอจึงต้องทำด้วยวัสดุที่มีความทน ทานสูงเช่นยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ที่ยึดเกาะพื้นดี และกันน้ำ มักมีดอกยางเพื่อให้ยึดเกาะพื้นได้ดีขึ้นวัสดุที่ใช้ ในบางครั้ง outsole จะเรียกกันย่อๆ ว่า sole
โลกของ sneakers นั้นกว้างใหญ่และเต็มไปด้วยคำศัพท์อีกมากมายนอกจากส่วนประกอบของรองเท้าซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะรวบรวมทุกอย่างเอาไว้ได้ในบทความเดียว แต่อย่างน้อยเราก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยเสริมความรู้พื้นฐานให้คุณสามารถเลือกซื้อรองเท้าคู่ใหม่ได้อย่างมั่นใจ และหากมีข้อมูลไหนเกี่ยวกับรองเท้าที่น่าจะเป็นประโยชน์ เราจะหยิบมานำเสนออีกอย่างแน่นอน โปรดติดตาม Text: Pakazite Illustration: Parimroj Design Reference: wiki / soletheory / shoephoric / solecollector / shoedigest
ทำไมเท้าถึงบาน
เท้าแบน (Flat Feet) คือ ลักษณะของเท้าที่ไม่มีส่วนโค้งเว้าตรงกลางเท้า เมื่อลุกขึ้นยืน ฝ่าเท้าจะราบแนบไปกับพื้นทั้งหมด ตรงกลางฝ่าเท้าที่โค้งขึ้นมานั้นคืออุ้งเท้า (Arch) ซึ่งทอดไปตามแนวยาวและแนวขวางของฝ่าเท้า อุ้งเท้าเกิดจากการยึดกันระหว่างเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และกระดูกเท้า โดยเส้นเอ็นที่เท้าเองและเส้นเอ็นส่วนที่ต่อจากขาส่วนล่างจะยึดกระดูกตรงกลางเท้าเข้ากับส้นเท้า ทำให้กลางฝ่าเท้าโค้งเข้ามาและไม่ราบไปกับพื้น ภาวะเท้าแบนเกิดขึ้นได้เมื่อเป็นเด็กเล็ก เนื่องจากฝ่าเท้าของเด็กมีไขมันและเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้มองเห็นอุ้งเท้าตรงฝ่าเท้าได้ไม่ชัด แต่เมื่อโตขึ้นช่องโค้งก็จะค่อย ๆ ปรากฏขึ้นมา บางคนอาจได้รับการถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวมาทางพันธุกรรม นอกจากนี้ ภาวะเท้าแบนอาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเสื่อมสภาพไปตามอายุ ลักษณะของภาวะเท้าแบนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ภาวะเท้าแบนแต่กำเนิด และภาวะเท้าแบนที่เกิดขึ้นภายหลัง ดังนี้
ภาวะเท้าแบนแต่กำเนิด ภาวะนี้จะปรากฏลักษณะเท้าแบน 2 แบบ ได้แก่ เท้าแบนแบบนิ่ม และเท้าแบนแบบแข็ง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
เท้าแบนแบบนิ่ม (Flexible Flat Foot) ภาวะเท้าแบนลักษณะนี้จัดเป็นภาวะเท้าแบนที่พบได้มากที่สุด พบตอนเป็นเด็ก เมื่อยืน ฝ่าเท้าจะราบไปกับพื้นทั้งหมด แต่เมื่อยกเท้าขึ้นมาจะเห็นช่องโค้งของฝ่าเท้า เท้าแบนแบบนิ่มไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด เท้าแบนแบบแข็ง (Rigid Flat Foot) เท้าแบนลักษณะนี้พบได้น้อย โดยตรงอุ้งเท้าจะโค้งนูนออก เท้าผิดรูป แข็ง และเท้ามีลักษณะหมุนจากข้างนอกเข้าด้านในเสมอ (Pronation) ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดหากต้องยืนหรือเดินมากเกินไป รวมทั้งมีปัญหาเกี่ยวกับการสวมรองเท้า
ภาวะเท้าแบนที่เกิดขึ้นภายหลัง ภาวะเท้าแบนลักษณะนี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น เอ็นข้อเท้าหย่อนยาน ป่วยเป็นโรคข้อรูมาตอยด์ ข้อเท้าเสื่อม หรือกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทขาซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนกำลัง ภาวะเท้าแบนลักษณะนี้มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวเยอะและอายุมาก ทั้งนี้ สาเหตุบางอย่างที่ทำให้เกิดภาวะเท้าแบนภายหลังมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้
เอ็นร้อยหวายสั้น (Short Archilles Tendon) ผู้ที่ส้นเท้ายกขึ้นจากพื้นก่อนส่วนอื่นของฝ่าเท้าเมื่อเดินหรือวิ่ง เกิดจากเอ็นร้อยหวายที่ยึดกระดูกส้นเท้ากับกล้ามเนื้อน่องสั้นเกินไป ผู้ที่เกิดภาวะเท้าแบนลักษณะนี้จะรู้สึกเจ็บเมื่อเดินหรือวิ่ง เอ็นเท้าอักเสบ (Posterior Tibial Tendon Dysfunction) ภาวะเท้าแบนลักษณะนี้เกิดจากเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อน่องกับด้านในข้อเท้าได้รับบาดเจ็บ บวม หรือฉีกขาด หากอุ้งเท้าได้รับการกระแทก จะทำให้รู้สึกเจ็บด้านในฝ่าเท้าและข้อเท้า
อาการของเท้าแบน ภาวะเท้าแบนที่เกิดขึ้นในคนส่วนใหญ่ มักไม่ปรากฏสัญญาณหรืออาการใด ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกเจ็บเท้า โดยเฉพาะบริเวณส้นเท้าหรืออุ้งเท้า อาการเจ็บนั้นจะยิ่งแย่ลงเมื่อต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเกิดอาการบวมที่ข้อเท้าด้านในร่วมด้วย โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่ประสบภาวะเท้าแบนไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาหากไม่ได้มีอาการเจ็บปวดใด ๆ ที่เท้า อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เกิดภาวะเท้าแบนควรไปพบแพทย์หากมีอาการต่อไปนี้
รู้สึกเจ็บฝ่าเท้าแม้จะสวมรองเท้าที่ใส่สบายและรองรับเท้าแล้ว รู้สึกเจ็บที่อุ้งเท้าและส้นเท้า ฝ่าเท้าด้านในบวมขึ้น ยืนไม่ค่อยได้ หรือเคลื่อนไหวทรงตัวบนเท้าลำบาก เจ็บหลังและขา รองเท้าที่เคยสวมได้ ไม่สามารถสวมได้ และชำรุดเร็วเกินไป เท้าแบนมากยิ่งขึ้น ฝ่าเท้าอ่อนแรง รู้สึกชา หรือเกิดอาการฝ่าเท้าแข็ง
สาเหตุของเท้าแบน ภาวะเท้าแบนเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อและกระดูกของฝ่าเท้าและขาส่วนล่าง โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเท้าแบน มีดังนี้
เกิดจากความผิดปกติตั้งแต่เกิด หรือกระดูกเท้ายังเจริญไม่เต็มที่เมื่ออยู่ในครรภ์ รวมทั้งได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่ยึดเชื่อมกัน เช่น โรคหนังยืดผิดปกติ ( Ehlers-Danlos Syndrome) หรือกลุ่มอาการที่ข้อต่อหย่อน (Joint Hypermobility Syndrome) มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและเส้นประสาท เช่น โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy) ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida) หรือโรคกล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular Dystrophy) เนื้อเยื่อที่เชื่อมกันตรงฝ่าเท้ายืดและอักเสบ เอ็นข้อเท้าที่ยึดขาส่วนล่าง ข้อเท้า และตรงกลางฝ่าเท้าเกิดการอักเสบ (Posterior Tibial Tendon Dysfunction) กระดูกหัก หรือกระดูกงอกผิดที่
นอกจากนี้ ผู้ที่เสี่ยงหรือมีแนวโน้มจะประสบภาวะเท้าแบนนั้น ได้แก่
ผู้ที่บุคคลในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นภาวะเท้าแบน ผู้ที่เล่นกีฬาหรือต้องทำกิจกรรมหนัก ๆ อันส่งผลให้เท้าและข้อเท้าเสี่ยงได้รับบาดเจ็บ ผู้ป่วยโรคอ้วน เนื่องจากเอ็นที่รองรับอุ้งเท้าต้องแบกน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไม่สามารถทรงตัวได้ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เนื่องจากโรคนี้จะส่งผลต่อเลือดที่ไหลไปเลี้ยงเอ็นที่เท้า ผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานส่งผลต่อเส้นประสาทที่เท้า และยังทำให้เส้นเอ็นอ่อนแรง สตรีมีครรภ์ เนื่องจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและผลกระทบจากฮอร์โมนทำให้เอ็นยึดข้ออ่อนนุ่มขึ้น ผู้ป่วย โรคข้อรูมาตอยด์ เนื่องจากโรคนี้ส่งผลต่อข้อต่อหรือทำให้เอ็นอ่อนแอลง ผู้ที่อายุมาก เนื่องจากเส้นเอ็นจะเสื่อมและยืดออกตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ผู้สูงอายุที่ล้มหรือได้รับบาดเจ็บที่ร่างกาย ผู้ที่ป่วยเป็นโรคที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อ
การวินิจฉัยภาวะเท้าแบน เบื้องต้นผู้ป่วยสังเกตภาวะเท้าแบนได้เอง โดยสังเกตรอยเท้าที่เปียกน้ำว่าปรากฏรอยเท้าแบบเต็มเท้าหรือไม่ หากรอยเท้ามีลักษณะเต็มเท้า ไม่ปรากฏส่วนโค้งเว้า แสดงว่ามีแนวโน้มเกิดภาวะเท้าแบน ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยได้ แพทย์จะตรวจและวินิจฉัยภาวะเท้าแบนโดยพิจารณาว่าผู้ป่วยมีภาวะเท้าแบนหรือไม่ และสาเหตุของภาวะดังกล่าวเกิดจากอะไร โดยแพทย์จะสังเกตลักษณะเท้าตั้งแต่ด้านหน้าและหลังเท้า รวมทั้งให้ผู้ป่วยลองยืนขึ้นเพื่อดูลักษณะเท้าตอนยืน และดูประวัติการรักษาของผู้ป่วยประกอบด้วย เนื่องจากภาวะเท้าแบนที่เกิดขึ้นอาจเกี่ยวเนื่องกับอาการเจ็บป่วยหรือการได้รับบาดเจ็บที่ผู้ป่วยเคยประสบมา รวมทั้งดูรองเท้าที่สวมว่ามีลักษณะการสวมที่ผิดปกติหรือไม่ หากผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บปวดที่เท้า อาจได้รับการตรวจด้วยภาพสแกนต่าง ๆ เพื่อหาสาเหตุ ดังนี้
เอกซเรย์ แพทย์จะเอกซเรย์กระดูกและข้อต่อของเท้า เพื่อตรวจหาอาการข้ออักเสบ ซีที สแกน วิธีนี้จะทำโดยเอกซเรย์เท้าของผู้ป่วยหลายมุม ซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อมูลมากขึ้น อัลตราซาวด์ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่เอ็นจะต้องทำอัลตราซาวด์ โดยการใช้คลื่นเสียงประมวลภาพเนื้อเยื่ออ่อนภายในร่างกายออกมา เอ็มอาร์ไอ แพทย์จะทำเอ็มอาร์ไอซึ่งเป็นการใช้คลื่นวิทยุและสนามแม่เหล็กประมวลภาพของเนื้อเยื่อในร่างกาย
การรักษาภาวะเท้าแบน ภาวะเท้าแบนไม่จำเป็นต้องรักษาหากไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดใด ๆ อย่างไรก็ดี หากผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดจากภาวะดังกล่าว ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ ซึ่งวิธีรักษาภาวะเท้าแบนขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของอาการ วิธีรักษาภาวะเท้าแบนประกอบด้วยวิธีบำบัดทางกายภาพ การรักษาด้วยยา และการผ่าตัด ดังรายละเอียดต่อไปนี้
วิธีบำบัดทางกายภาพ การรักษาภาวะเท้าแบนด้วยวิธีบำบัดทางกายภาพ มีดังนี้
ใ ส่อุปกรณ์เสริมที่เท้า (Orthotic) การสวมอุปกรณ์เสริมนับเป็นขั้นแรกของการรักษาภาวะเท้าแบน โดยอุปกรณ์เสริมจะบรรเทาอาการเจ็บเท้าและช่วยหนุนเท้า ผู้ป่วยจะสอดอุปกรณ์เสริมนี้ไว้ในรองเท้า ส่วนเด็กเล็กจะได้รับรองเท้าที่ออกแบบมาโดยเฉพาะจากแพทย์ เพื่อสวมใส่จนกว่าฝ่าเท้าจะเจริญเต็มที่ ออกกำลังยืดเส้น ผู้ป่วยเท้าแบนอันเนื่องมาจากเอ็นร้อยหวายสั้นเกินไปอาจต้องออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่ยึดเชื่อมกันของขาส่วนล่าง โดยนักกายภาพบำบัดจะช่วยแนะนำการออกกำลังกายให้แก่ผู้ป่วย ท่าออกกำลังกายยืดเอ็นร้อนหวายเริ่มจากโน้มตัวไปข้างหน้ายันผนังไว้ ก้าวขาข้างหนึ่งมาด้านหน้างอเข่า ส่วนขาที่อยู่ข้างหลังยืดตรงและลงน้ำหนักที่ส้นเท้า ทำค้างไว้ 15-30 วินาที ระหว่างที่ทำท่านี้ ควรให้ส้นเท้าราบไปกับพื้นทั้งหมด ปลายนิ้วเท้าของขาหลังอยู่ในทิศทางเดียวกับส้นเท้าของขาที่อยู่ด้านหน้า สวมรองเท้าที่รับกับเท้า การสวมรองเท้าที่พอดีและรับกับรูปเท้าจะทำให้รู้สึกสบายเท้ามากกว่าการสวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าที่รองรับเท้าของผู้สวมได้น้อย ทำกายภาพบำบัด ภาวะเท้าแบนอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บจากการวิ่งมากขึ้น นักกายภาพบำบัดจะช่วยวิเคราะห์ลักษณะการวิ่งของผู้ป่วย เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปรับลักษณะและเทคนิคการวิ่งให้ดีขึ้น
การรักษาด้วยยา ผู้ป่วยที่เกิดอาการเจ็บเท้าเรื้อรังและเท้าอักเสบ จะได้รับยาต้านอักเสบเพื่อบรรเทาอาการปวดบวม การผ่าตัด หากการรักษาภาวะเท้าแบนวิธีอื่น ๆ ไม่ช่วยบรรเทาอาการให้ทุเลาลงได้ หรือสาเหตุของภาวะดังกล่าวทำให้จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะผ่าตัดให้แก่ผู้ป่วย แต่วิธีผ่าตัดจะแตกต่างกันไปตามสาเหตุ เช่น ผู้ป่วยเท้าแบนที่มีรูปกระดูกผิดปกติหรือติดกัน จำเป็นต้องผ่าตัดแยกกระดูกและยืดให้ตรง ส่วนผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเนื้อเยื่อที่ยึดเชื่อมกันจะได้รับการผ่าตัดรักษาเนื้อเยื่อที่เกิดปัญหา หรือผู้ที่เอ็นร้อยหวายสั้นเกินไป อาจได้รับการผ่าตัดเพื่อยืดเอ็นและลดอาการเจ็บปวดที่เท้า
ภาวะแทรกซ้อนของเท้าแบน ภาวะเท้าแบนก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง ดังนี้
หากภาวะเท้าแบนเกิดอาการแย่ลง จะส่งผลกระทบต่อการเดินของผู้ป่วย ทั้งนี้ การสูญเสียความสามารถในการทรงตัวและดีดตัวของเท้า จะทำให้ปวดที่เท้าและหลังมากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงอาการปวดของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และอาการอักเสบของเส้นเอ็น ลักษณะการเดินและรูปเท้าที่เปลี่ยนไปทำให้เท้าเกิดความผิดปกติอื่น ๆ เช่น นิ้วหัวแม่เท้าผิดรูป หนังหนาด้าน ข้อนิ้วเท้าเกิดงอและติดกันแน่น หรือเกิดปุ่มกระดูกขึ้นมา เนื่องจากไม่สามารถลงแรงไปที่เท้าได้เต็มที่ แรงกระแทกจากการเคลื่อนไหวจึงไปลงที่ขามากขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อหน้าขาอักเสบ ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดอาจติดเชื้อ ข้อเท้าเคลื่อนไหวได้ไม่ดี กระดูกหายช้า และเกิดอาการเจ็บอยู่ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดที่พบได้ไม่บ่อยนัก
การป้องกันภาวะเท้าแบน สาเหตุของภาวะเท้าแบนมีแนวโน้มเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม จึงอาจป้องกันได้ยาก อย่างไรก็ดีภาวะเท้าแบนสามารถจัดการและป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงได้ ดังนี้
สวมรองเท้าที่พอดีและรับกับลักษณะฝ่าเท้า สวมอุปกรณ์เสริมที่เท้าเพื่อลดอาการปวดเท้า เลี่ยงกิจกรรมหรือกีฬาที่ก่อให้เกิดแรงกระแทกที่ฝ่าเท้า เช่น วิ่ง กระโดด เล่นบาสเก็ตบอล เตะฟุตบอล หรือตีเทนนิส รับประทานยาแก้ปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดที่เท้าให้ทุเลาลง ลดน้ำหนักเพื่อลดแรงกระแทกที่เท้า รวมทั้งเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่ภาวะเท้าแบน เช่น ดูแลตัวเองไม่ให้ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือ โรคอ้วน
เท้าแบนรักษาได้ไหม
การรักษาภาวะเท้าแบนส่วนใหญ่ สามารถรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด เช่น ใช้แผ่นรองเท้า กายอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงอุปกรณ์พยุงข้อเท้าต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงและสาเหตุของโรค ร่วมกับการทำกายภาพที่เน้นการยืดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะเอ็นร้อยหวาย และการลดการอักเสบของเส้นเอ็นด้วยเครื่องเลเซอร์หรืออัลตราซาวนด์ ร่วมกับการรับประทานยาแก้อักเสบ
เท้าแบน อันตรายไหม
เท้าแบน เป็นปัญหาที่ไม่ร้ายแรง แต่ส่งผลกวนใจในชีวิตประจำวัน ทำให้ชีวิตไม่มีความสุข โดยเฉพาะคนที่ชอบออกกำลังกายเล่นกีฬาหรือต้องเดินเยอะๆ เพราะเมื่อมีการใช้งานฝ่าเท้ามาก ก็จะเกิดความรู้สึกเจ็บ และหลายคนอาจละเลยหรือไม่ได้สนใจปัญหาเหล่านั้น หรืออาการเจ็บเหล่าจะยิ่งแย่ลง จนต้องหยุดทำกิจกรรมนั้นๆ เท้าแบน (Flat Feet) คือ ลักษณะของเท้าที่ไม่มีส่วนโค้งเว้าตรงกลางเท้า เมื่อลุกขึ้นยืน ฝ่าเท้าจะราบแนบไปกับพื้นทั้งหมด ตรงกลางฝ่าเท้าที่โค้งขึ้นมานั้นคืออุ้งเท้า (Arch) ซึ่งทอดไปตามแนวยาวและแนวขวางของฝ่าเท้า วิธีสังเกตคือหากลองลงน้ำหนักแล้วพบว่าฝ่าเท้าทั้งหมดแนบติดพื้น หรือในบางคนอาจจะมีอุ้งเท้าเตี้ยมากกว่าปกติจนแทบมองไม่เห็นส่วนที่โค้งเว้า นั่นหมายความว่าคุณอาจมีภาวะเท้าแบน ซึ่งอาจเป็นภาวะปกติหรือผิดปกติ และอาจแสดงหรือไม่แสดงอาการใด ๆ ลักษณะของภาวะเท้าแบน พบในผู้ที่มีอุ้งเท้าเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย เท้าแบนสาเหตุหลักเกิดจากอะไร เนื้อเยื่อส่วนต่างๆของร่างกายไม่ยึดเชื่อมกันเช่นโรคหนังยึดผิดปกติ (Ehlers-Danlos Syndrome) หรือกลุ่มอาการข้อต่อหย่อน (Joint Hypermobility Syndrome) เอ็นข้อเท้าที่ยึดขาส่วนล่างของข้อเท้าและตรงกลางฝ่าเท้าเกิดการอ่อนแรง (Posterior Tibial Tendon Dysfunction) เกิดจากการเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมหนัก ๆ จึงส่งผลให้เท้าและข้อเท้าเสี่ยงได้รับบาดเจ็บซึ่งในกรณีนี้ได้มีผลวิจัยชี้แจงออกมาด้วยนั่นก็คือพบว่าผู้ที่เล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมหนัก ๆ มีความสัมพันธ์กับอาการเบื้องต้นของโรคเท้าแบนนั่นก็คือเจ็บหน้าแข้งด้านใน (Shin Splints) เจ็บที่อุ้งเท้าส้นเท้าและมีอาการปวดเข่าด้านหน้า (Patellotermoral Pain Syndrome) อาการภาวะเท้าแบน ภาวะเท้าแบนที่เกิดขึ้นในคนส่วนใหญ่ มักไม่ปรากฏสัญญาณหรืออาการใด ๆ ในระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการหรือมีอาการเฉพาะหลังเดินหรือยืนเป็นเวลานาน แต่เมื่อโรคมีความรุนแรงมากขึ้น อาการเจ็บมักเป็นมากขึ้นรอบ ๆ ข้อเท้าและอุ้งเท้า หรือมีภาวะเท้าแบนที่เห็นชัดมากขึ้น รองเท้าที่เคยสวมได้ ไม่สามารถสวมได้ และชำรุดเร็วเกินไป อย่างไรก็ตามผู้ที่เกิดภาวะเท้าแบนควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาเพิ่มเติม หากมีอาการต่อไปนี้
- เจ็บอุ้งเท้าและส้นเท้า แม้สวมใส่รองเท้าที่รองรับเท้าได้ดีและนุ่มสบายแล้ว
- ฝ่าเท้าด้านในบวมขึ้น มีการอักเสบบวมแดงตามเส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อเท้า
- ทรงตัวลำบาก ยืนเขย่งขาไม่ได้ หรือเดินขึ้นลงบันไดลำบาก
- ไม่สามารถสวมใส่รองเท้าที่เคยใส่ได้ หรือรู้สึกอุ้งเท้าแบนมากยิ่งขึ้น
- รู้สึกชาฝ่าเท้า หรือเส้นเอ็นนิ้วเท้าอ่อนแรงหรือผิดรูปมากขึ้น
ชนิดของภาวะเท้าแบน ภาวะเท้าแบนแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
- ภาวะเท้าแบนแต่กำเนิด ภาวะเท้าแบนแต่กำเนิด ภาวะนี้จะปรากฏลักษณะเท้าแบน 2 แบบ ได้แก่ เท้าแบนแบบนิ่ม และเท้าแบนแบบแข็ง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
- เท้าแบนแบบนิ่ม (Flexible Flat Foot) ภาวะเท้าแบนลักษณะนี้จัดเป็นภาวะเท้าแบนที่พบได้มากที่สุด พบตอนเป็นเด็ก เมื่อยืน ฝ่าเท้าจะราบไปกับพื้นทั้งหมด แต่เมื่อยกเท้าขึ้นมาจะเห็นช่องโค้งของฝ่าเท้า เท้าแบนแบบนิ่มไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด
- เท้าแบนแบบแข็ง (Rigid Flat Foot) เท้าแบนลักษณะนี้พบได้น้อย โดยตรงอุ้งเท้าจะโค้งนูนออก เท้าผิดรูป แข็ง และเท้ามีลักษณะหมุนจากข้างนอกเข้าด้านในเสมอ (Pronation) ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดหากต้องยืนหรือเดินมากเกินไป รวมทั้งมีปัญหาเกี่ยวกับการสวมรองเท้า
- ภาวะเท้าแบนที่เกิดขึ้นภายหลัง ภาวะเท้าแบนลักษณะนี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น เอ็นข้อเท้าหย่อนยาน ป่วยเป็นโรคข้อรูมาตอยด์ ข้อเท้าเสื่อม หรือกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทขาซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนกำลัง ภาวะเท้าแบนลักษณะนี้มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวเยอะและอายุมาก ทั้งนี้ สาเหตุบางอย่างที่ทำให้เกิดภาวะเท้าแบนภายหลังมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้
- เอ็นร้อยหวายสั้น (Short Archilles Tendon ) ผู้ที่ส้นเท้ายกขึ้นจากพื้นก่อนส่วนอื่นของฝ่าเท้าเมื่อเดินหรือวิ่ง เกิดจากเอ็นร้อยหวายที่ยึดกระดูกส้นเท้ากับกล้ามเนื้อน่องสั้นเกินไป ผู้ที่เกิดภาวะเท้าแบนลักษณะนี้จะรู้สึกเจ็บเมื่อเดินหรือวิ่ง
- เอ็นเท้าอักเสบ (Posterior Tibial Tendon Dysfunction) ภาวะเท้าแบนลักษณะนี้เกิดจากเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อน่องกับด้านในข้อเท้าได้รับบาดเจ็บ บวม หรือฉีกขาด หากอุ้งเท้าได้รับการกระแทก จะทำให้รู้สึกเจ็บด้านในฝ่าเท้าและข้อเท้า
วิธีป้องกันและดูแลตนเอง สำหรับคนเท้าแบน
- เลือกรองเท้าที่เหมาะสม ผู้มีภาวะเท้าแบนควรเลือกรองเท้าที่ มีส่วนเสริมช่วยพยุงอุ้งเท้า รวมถึงรองเท้าควรมีวัสดุแข็งหุ้มทั้งด้านข้างและหลังเท้า เพื่อป้องกันไม่ให้ส้นเท้าบิดหรือทำให้เท้าล้มเข้าด้านใน
- เสริมพื้นรองภายในเท้า โดยการใช้แผ่นรองเท้าที่เหมาะสมกับสภาพของเท้า เพื่อช่วยพยุงและลดแรงการแทกไม่ให้เท้าบิดขณะวิ่งหรือเดิน ปัจจุบันมีทั้งแบบเป็นซิลิโคน แผ่นรองเท้า และวัสดุอื่นๆ มากมาย ทั้งนี้นักวิ่งควรลองสวมพร้อมรองเท้าที่ใช้ประจำเพื่อความกระชับและเหมาะสมกับเท้าของแต่ละคน รวมถึงผู้มีปัญหาเท้าแบนมากๆ ความพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและเลือกอุปกรณ์เสริมที่ปลอดภัย
- เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อหน้าแข้งด้านใน กล้ามเนื้อรอบๆข้อเท้า และกล้ามเนื้อในฝ่าเท้า จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บของนักวิ่งที่มีภาวะเท้าแบนได้
- การกินยา ฉีดยาเพื่อลดอาการอักเสบ หรือการทำกายภาพด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น อัลตราซาวน์ เลเซอร์ สามารถช่วยลดอาการปวดจากภาวะนี้เพิ่มเติมได้
โรคเท้าแบนแม้ไม่ใช่โรคร้ายแรงอันตราย แต่หากปล่อยไว้ก็จะทำลายความสุขและคุณภาพในการใช้ชีวิตได้ ซึ่งการป้องกันนั้นก็สามารถทำได้ตั้งแต่เด็กๆ โดยคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตรูปเท้าของลูก ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยหากสังเกตพบว่ารูปเท้าผิดรูป แบนผิดปกติ ก็ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อปรับรองเท้าให้มีการหนุนอุ้งเสริมตั้งแต่เล็กๆ จะช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวเมื่อลูกโตขึ้นได้ การรักษาเท้าแบน หากไม่มีอาการปวดหรืออาการขัดขวางการใช้ชีวิตประจำวันก็ไม่ต้องให้การรักษา การรักษาอย่างจริงจังควรทำเมื่อมีอาการปวดหรือรบกวนการใช้เท้าในชีวิตประจำวันโดยให้พบศัลยแพทย์กระดูกและข้อ หรือมีวิธีการรักษาดังนี้
- การฝึกเพิ่มความยืดหยุ่นเอ็นรอบข้อเท้าเพื่อป้องการการเกิดอาการปวด หรือล้า
- การยืดเอ็นร้อยหวายที่ขาซ้าย โดยมือค้ำผนังไว้ขาซ้ายเหยียดตึงไม่ยกส้นเท้าจากพื้นตามรูปที่แสดง จากนั้นย่อตัวลงค้างไว้ 10-20วินาที วันละ 10-20 รอบ หรือค่อยๆ ปรับจำนวนรอบขึ้นทุกวัน
- อีกหนึ่งวิธีคือยืนบนขอบบันไดให้ส้นเท้าข้างที่ต้องการ ยืดเอ็นพ้นบันไดออกมาค่อยๆ ทิ้งน้ำหนักตัวลงไปค้างใน ท่านี้ 10 – 20 วินาที วันละ 10 – 20 รอบต่อวัน อีกหนึ่งท่า ที่แนะนำคือคือการนั่งยองๆ ค้างไว้ 10 – 20 วินาที วันละ 10 – 20 รอบต่อวัน ในท่าเท้าชิดกันส้นเท้าไม่ยกจากพื้น
- การกินยาแก้ปวด การกินยา ฉีดยาเพื่อลดอาการอักเสบ
- การพบแพทย์ตรวจเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวด หรือผิดปกติในการใช้งาน
- การใส่อุปกรณ์พยุงข้อเท้า หรือเท้าเพื่อปรับรูปเท้าขณะที่สวมอุปกรณ์จะทำให้อาการเบาลง
- การผ่าตัดแก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด หรือปัญหา
ปัญหาเท้าแบนที่พบในเด็ก ส่วนใหญ่เป็นภาวะเท้าแบนชนิดไม่ติดแข็งที่คงอยู่ต่อเนื่องมาตั้งแต่วัยเด็กเล็ก อุ้งเท้าไม่สูงขึ้นแม้กระดูกจะมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้วก็ตาม มักจะพบทั้งสองข้าง าเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม ผู้ป่วยมักรู้สึกว่าเท้าหรือขาอ่อนล้าง่าย ร่วมกับปวดบริเวณอุ้งเท้า ส้นเท้าและเท้าด้านนอก โดยอาการเป็นมากขึ้นเมื่อมีการลงน้ำหนัก ขณะยืนลงน้ำหนักจะพบส้นเท้าบิดออกมากกว่าปกติ ส่วนใหญ่มักจะมีกล้ามเนื้อน่องและเอ็นร้อยหวายตึงร่วมด้วย หากมีส้นเท้าบิดมากๆ เป็นเวลานาน อาจทำให้ข้อเสื่อม และเคลื่อนไหวได้น้อยลง เท้าแบนชนิดนี้ไม่ถือว่าเป็นโรค ดังนั้นหากไม่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาใดๆ เพียงติดตามความเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ เท้าแบนในเด็ก จำเป็นต้องรักษาหรือไม่ หากเป็นกรณีเท้าแบนที่เกิดจาก Rigid Flat Feet คือเป็นโครงสร้างที่ผิดปกติ เป็นต้องรักษาเป็นจริงเป็นจัง และส่วนมากจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข แต่ถ้าเป็นเท้าแบนแบบยืดหยุ่น (Flexible Flat Feet) คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลมาก เพราะปัจจุบันยังไม่มีรายงานหรือการวิจัยทางการแพทย์ใด ๆ ที่ระบุเจาะจงว่า เท้าแบนแบบยืดหยุนในเด็ก จะส่งผลและมีปัญหาต่อพัฒนาการของเด็กในอนาคต โรคเท้าแบนแม้ไม่ใช่โรคร้ายแรงอันตราย แต่หากปล่อยไว้ก็จะทำลายความสุขและคุณภาพในการใช้ชีวิตได้ ซึ่งการป้องกันนั้นก็สามารถทำได้ตั้งแต่เด็กๆ โดยคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตรูปเท้าของลูก ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยหากสังเกตพบว่ารูปเท้าผิดรูป แบนผิดปกติ ก็ควรรีบมาพบแพทย์ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลเปาโล พระประแดง 02 818 9000
เท้าอวบใส่รองเท้าแตะแบบไหน
เลือกรองเท้าแตะให้เหมาะกับรูปเท้า – ประเภทของรองเท้าแตะ 1. เท้าแบน คนที่มีเท้าแบนลักษณะของเท้าจะมีเนื้อไม่เต็ม เท้าจะราบเรียบขยายไปทางกว้างดังนั้นการเลือกซื้อรองเท้าแตะสำหรับคนเท้าแบนไม่ควรซื้อรองเท้าแตะมีสายรัดที่ปลายเท้าเพราะจะบีบเท้าใส่ไม่สบาย แนะนำให้ซื้อรองเท้าแตะแบบหูหนีบจะเหมาะสมกว่า 2.
เท้าเรียวยาว สำหรับคนที่มีรูปเท้าเรียวยาวถือเป็นคนที่น่าอิจฉามาก เพราะนอกจากเท้าจะดูสวยงามแล้วยังใส่รองเท้าได้หลายแบบ รองเท้าแตะก็เช่นกันคุณสามารถเลือกรองเท้าแตะแบบสวม แบบมีสายรัดส้น หรือแบบหูหนีบก็ได้ แต่ถ้าจะให้สวยก็คือใส่แบบสวมหรือแบบมีส้นก็ได้ขอแค่เลือกให้มีขนาดที่พอดี ๆ ที่เหลือก็แล้วแต่ดีไซน์ตามชอบหรือความหนาที่ต้องการก็แค่นั้น 3.
เท้าบาน รูปเท้าแบบนี้จะมีความกว้างเป็นพิเศษมากกว่าคนรูปเท้าแบน การเลือกรองเท้าแตะให้เหมาะสมกับคนเท้าบานจะต้องเลือกรองเท้าแบบหูหนีบเพื่อป้องกันการบีบรัดที่จะทำให้เกิดบาดแผล หรือถ้าจะเลือกแบบสวมก็ควรเลือกยี่ห้อที่มีความกว้างของปลายรองเท้ามาก ๆ ประเภทหัวกว้างหรือหัวมน หลีกเลี่ยงรองเท้าแตะหัวแหลมจะดีที่สุด ส่วนสีที่เลือกก็ควรเป็นสีเข้มเช่น ดำ กรมท่า เทาเข้ม เพื่อให้ดูเท้าไม่ใหญ่จนเกินไป 4.
เท้าใหญ่อวบอูม ลักษณะของเท้าประเภทนี้จะมีเนื้อที่เยอะและขนาดที่ใหญ่ ดังนั้นควรเลี่ยงใส่รองเท้าแตะที่หัวแหลมปลายเท้าแคบ นอกจากนี้คนเท้าลักษณะนี้เวลาเลือกซื้อรองเท้าแตะควรเลือกเบอร์ที่ใหญ่กว่าขนาดเท้าจริงพอประมาณเพื่อเป็นการเผื่อเนื้อเท้าที่ขยายเวลาลงน้ำหนักไม่ให้ไปเสียดสีหรือล้นออกจากรองเท้าได้นั่นเอง 5.
เท้าโค้ง เท้าโค้งคือรูปเท้าของคนที่มีเนื้อน้อยมากจะเห็นเป็นกระดูซะส่วนใหญ่คนที่มีลักษณะรูปเท้าแบบนี้ควรเลือกรองเท้าแตะที่มีการเสริมความหนาบริเวณอุ้งเท้าเพื่อรองรับน้ำหนักทำให้การเดิน การยืน กระชับและสบายเท้ามากยิ่งขึ้นไม่ควรเลือกรองเท้าแตะที่มีลักษณะแบนราบเรียบ บาง เนื่องจากจะทำให้เจ็บฝ่าเท้าและส้นเท้าเวลาใส่เดินนาน ๆ รองเท้าแตะพื้นหนา และทั้งหมดนี้ก็คือวิธีเลือกรองเท้าแตะให้เหมาะกับรูปเท้า เพื่อให้สวมใส่สบายไม่เจ็บเท้า สำหรับเพื่อนคนไหนต้องการหาซื้อรองเท้าแตะ รองเท้าแฟชั่น รองเท้าส้นสูง รองเท้าผ้าใบ รองเท้ากีฬา ของแท้จากแบรนด์ชั้นนำสามารถแวะมาเลือกชมสินค้าได้ผ่านทางเว็บไซต์ ShopAt24.com ร้านค้าออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาพร้อมโปรโมชั่นและคูปองส่วนลดมากมายให้คุณได้ช้อปได้ในราคาสบายกระเป๋า พร้อม บริการส่งฟรีที่ 7-11 สาขาใกล้บ้านอีกด้วย อ่านเพิ่มเติม
MAGO รุ่น BAMBO สีฟ้า รองเท้าสุขภาพ รองเท้า Keen รุ่นไหนดี สวมใส่สบาย ราคาไม่แพง รองเท้า Safety คืออะไร ซื้อแบบไหนดี ? วิธีเลือกรองเท้าวิ่งสำหรับมือใหม่ ต้องดูอะไรบ้าง ?
เท้าแบนใส่รองเท้าแบบไหนดี
เช็กให้ดีว่าเท้าของคุณเป็นแบบไหน เลือกรองเท้าให้เหมาะสม เดี๋ยวนี้คนหันมารักสุขภาพกันมากขึ้น นั่นจึงไม่แปลกใจเลยว่าหันไปทางไหนก็เจอนักวิ่งหน้าใหม่ แต่หลายคนพอวิ่ง ๆ ไปแล้ว กลับมีปัญหาที่เท้าบ้าง เข่าบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมาจากสาเหตุการเลือกใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับประเภทเท้าของตัวเอง เพื่อน ๆ คงจะสงสัยกันใช่ไหมคะ ว่าเท้ามีกี่ประเภทกัน แล้วแต่ละประเภทมีปัญหาอย่างไรบ้าง และควรจะดูแลเท้าของเราหรือเลือกซื้อรองเท้าให้เหมาะสมได้อย่าง เราไปเรียนรู้พร้อมกันค่ะ เท้าคนเรามีกี่ประเภท ธรรมชาติเท้าของคนเราสามารถแบ่งออกได้หลัก ๆ 3 ประเภท และแบ่งย่อยได้เป็น 5 ประเภทย่อยตาม Pronation ดังนี้
Normal Arch
อุ้งเท้าปกติ โดยมีการวางเท้าและข้อเท้าอยู่ในลักษณะข้อเท้าตั้งตรง โดยการเลือกรองเท้าของคนที่มีอุ้งเท้าปกตินั้น ควรเลือกรองเท้าแบบ Stability เพื่อช่วยรองรับแรงกระแทกจากการวิ่งได้ดีขึ้น
High Arch
อุ้งเท้าสูง มีการวางเท้าแบบปกติและข้อเท้าตั้งตรง ควรเลือกรองเท้าวิ่งแบบ Neutral ที่จะทำให้คุณสามารถวิ่งได้สบายมากยิ่งขึ้น แต่อีกกรณีหนึ่ง คือคนที่มีอุ้งเท้าสูงที่มาพร้อมกับอาการข้อเท้าโก่ง ออกด้านข้าง ส่งผลให้ลงน้ำหนักไปที่ฝ่าเท้าด้านนอกมากกว่าด้านในอย่างเห็นได้ชัด ควรเลือกรองเท้าวิ่งแบบ Cushioned ที่ออกแบบมาพิเศษ โดยมีตัวช่วย Support แรงกระแทกจากการวิ่ง และทำให้วางเท้าในลักษณะปกติได้
Flat Arch
เท้าประเภทสุดท้ายคือเท้าแบน จะมีลักษณะของข้อเท้าเอียงเข้าด้านใน ทำให้ฝ่าเท้าด้านนอกยกสูงกว่าด้านใน ควรเลือกรองเท้าวิ่งแบบ Motion Controlled ซึ่งออกแบบมาเพื่อคนเท้าแบนโดยเฉพาะ สามารถสดอาการปวด และควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้าได้ดีขึ้น คนที่เท้าแบนจะมีสาเหตุมาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่
- เท้าแบนแต่กำเนิด
- เท้าแบนที่เกิดขึ้นภายหลัง
Pronation คืออะไร นอกจากนี้ เรายังสามารถแบ่ง Pronation ตามประเภทเท้าต่าง ๆ ได้อีกด้วย ซึ่ง Pronation คือ กลไกการหมุนของเท้าเราหลังจากเท้าแตะพื้น โดยจะมีการหมุนในลักษณะจากข้างเท้าด้านนอกวนข้างเข้าหาด้านใน ซึ่งเจ้ากลไกที่ว่านี้จะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เพื่อลดแรงกระแทกขณะวิ่งหรือขณะเดินก็ตาม หากไม่มีการหมุนเลย แรงกระแทกนี้ก็จะถูกส่งตรงเข้าหาข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกายทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ หากแบ่ง Pronation ตามประเภทเท้าต่าง ๆ จะได้ดังนี้
เท้าแบบรุนแรง
เป็น Severe Overpronation มีการหมุนของข้อเท้ามากจนเกินไป จะมีแรงบิดเกิดขึ้นมากระหว่างการวิ่ง ทำให้มีแรงบิดเกิดขึ้นที่ข้อต่อต่าง ๆ มาก เสี่ยงต่อการบาดเจ็บข้อต่อต่าง ๆ ซึ่งรองเท้าที่เหมาะจะเป็นรุ่นที่มีระบบ Motion Control ออกแบบให้มีการควบคุม จำกัดไม่ให้เกิดการหมุนของเท้ามากเกินไป
เท้าแบนแบบปานกลาง
เป็น Moderate Overpronation ยังจัดอยู่ในกลุ่มที่การหมุนของข้อเท้ามากเกินไปเช่นเดียวกับแบบแรก แต่จะต่างที่จะเป็นคนเท้าแบนที่มีมีลักษณะของการวางเท้าแบบเน้นลงน้ำหนักที่ปลายเท้าด้านในและส้นเท้าด้านนอก
เท้าแบนแบบไม่รุนแรง
การวางเท้าแบบนี้ น้ำหนักจะลงไปที่ส้นเท้าด้านนอกกับปลายเท้าฝั่งนิ้วโป้งจนถึงตรงกลาง
อุ้งเท้าปกติ
การลงน้ำหนักและการวางเท้าจะอยู่ช่วงจมูกเท้าและส้นเท้า ซึ่งคนอุ้งเท้าปกติสามารถเกิด Overpronation ได้เช่นกัน ซึ่งรองเท้าที่เหมาะจะเป็นรุ่นที่เน้น Stability เป็นรองเท้าที่ออกแบบควบคุมไม่ให้เท้ามีการบิดเข้าด้านในระหว่างการวิ่ง ในบางคนอาจจะมีการวางเท้าแบบ Neutral การหมุนของเท้าจะอยู่ในระดับที่พอดี ๆ
อุ้งเท้าสูง
คนที่มีอุ้งเท้าสูงจะเป็นแบบ Underpronation การหมุนของเท้าน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ลักษณะนี้จะทำให้กลไกการรับแรงกระแทกในการวิ่งจะน้อยมาก การลงเท้าระหว่างวิ่งจะมีแรงกระแทกเกิดขึ้นมาก ซึ่งรองเท้าที่เหมาะจะเป็นลักษณะ Cushion เยอะ ๆ รองเท้าที่มีระบบรองรับแรงกระแทกดี ๆ อยากรู้เท้าตัวเองเป็นแบบไหน เราสามารถเช็กเท้าของตัวเองได้ง่าย ๆ โดยการเอาเท้าคุณเองไปจุ่มในน้ำให้พอเปียกหมาดๆ ย้ำว่าหมาดๆ นะ อย่างชุ่มมากเกินไป หลังจากนั้นเอาเท้าของคุณมาปั๊มลงบนกระดาษอะไรก็ได้ อาจจะกระดาษ A4 หรือหนังสือพิมพ์ ดังนั้นแล้วสิ่งสำคัญที่คุณจะช่วยถนอมเท้าของตัวเองได้ คือการรู้จักเท้าว่าเป็นแบบไหน และเลือกรองเท้าที่เหมาะกับเท้าของตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บในภายหลังนั่นเอง,
- สุขภาพที่ดี เริ่มต้นที่เท้า” รองเท้าสุขภาพ ต้อง TALON สอบถามรายละเอียดโปรโมชั่น แอดLine@ ของ Talon ได้ที่นี่เลยค่ะ,
- คลินิกตรวจสุขภาพเท้า โดยผู้เชี่ยวชาญได้ที่โรงงาน ใกล้ Central พระราม 2 หรือช็อบบน ICON SIAM ในห้าง Siam Takashimaya ชั้น 2 แผนกรองเท้าสุขภาพ,
- Foot clinic เปิดบริการ จันทร์-เสาร์ 8.30-17.30 น.
Tel 02-896-3800,
รองเท้าแบบไหนใส่แล้วเท้าเรียว
2. ทรงเท้าเรียว – คนที่มีรูปเท้าเรียวสวย มีส่วนโค้งเว้าแบบพอดี เป็นทรงเท้าที่น่าอิจฉามากๆ เพราะสามารถใส่รองเท้าได้ทุกแบบ แต่ถ้าหากอยากให้รูปเท้าสวยเด่นขึ้น ต้องไม่พลาดกับรองเท้าส้นสูงแบบรัดส้นหรือรองเท้าหัวแหลม เพราะจะช่วยให้รูปเท้าเรียว ได้รูปยิ่งขึ้นไปอีก นอกจากนี้ยังเข้ากับรองเท้าได้ทุกเฉดสี ส่วนสีที่แนะนำสำหรับคนรูปเท้าเรียวจะเป็นสีอ่อนอย่างสีขาวนวล หรือสีสดใส จะช่วยขับให้เท้าของเราดูสวยเด่นมากขึ้น
คนอ้วนใส่รองเท้าผ้าใบแบบไหนดี
ขาเรียว ไม่ต้องออกกำลังกาย ! แนะนำ 5 ทริคเลือก ‘รองเท้าผ้าใบ’ สำหรับ ‘. 44 57.7K อยากขาเรียว หุ่นเพรียว แบบไม่ต้องออกกำลังกายกันรึเปล่าคะ ? ถ้าอย่างนั้นต้องตามเรามาดู 5 ทริคเลือก ‘รองเท้าผ้าใบ’ สำหรับ ‘สาวอวบ’ ที่ใส่แล้วไม่ดูตัน แถมยังเพิ่มความสูงเพรียวกันได้เลย
1. เลือกรองเท้าสไตล์ Low Top Sneakers เพื่อโชว์ช่วงขา 2. หลีกเลี่ยงรองเท้าผ้าใบทรงอ้วน ๆ กลม ๆ 3. เพิ่มความเพรียว ด้วยรองเท้าผ้าใบแบบเสริมส้น 4. เลือกสีอ่อนไว้ก่อน เพื่อเพิ่มความยาวช่วงขา 5. อย่าลืมเลือกรองเท้าขนาดพอดี ไม่รัดเท้าจนเกินไป
ซิสคนไหนที่เป็น ‘สาวอวบ’ เนี่ย ก็คงจะกังวลใจกับเรื่องแฟชั่นกันแน่ ๆ เลยใช่มั้ยคะ ? ก็แหม ! สาวหุ่นอวบ เนื้อแน่น ๆ แบบเรา แค่เลือกช้อปเสื้อผ้าตามเทรนด์แฟชั่นอย่างเดียวไม่ได้หรอกนะ แต่ต้องเลือกไอเทมที่หยิบมาใส่ แล้วช่วยพรางหุ่นให้ดูผอมเพรียวขึ้นด้วย แล้ว นอกจากการเลือกเสื้อผ้าจะส่งผลต่อรูปร่างแล้ว เรื่อง ‘ รองเท้า ‘ เราก็ห้ามละเลยเด็ดขาดเลยนะคะ โดยเฉพาะสาวอวบคนไหนที่ชอบใส่รองเท้าผ้าใบเป็นชีวิตจิตใจ ก็ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับการเลือกรองเท้าผ้าใบให้เหมาะกับหุ่นของตัวเองด้วย แล้วถ้าซิสอยากจะเพิ่มความเพรียว ให้ขาดูเรียวแบบไม่ต้องออกกำลังกาย วันนี้เราก็มี 5 ทริคเลือก ‘ รองเท้าผ้าใบ ‘ สำหรับ ‘ สาวอวบ ‘ ที่ใส่แล้วไม่ดูตัน มาให้ได้อ่านกันก่อนตัดสินใจช้อปด้วยนะ เอาล่ะ ! ถ้าอยากรู้ว่า รองเท้าผ้าใบแบบไหนคือคู่แท้ของสาวหุ่นแน่น เต็มไม้เต็มมืออย่างเรา ก็ตามไปดูเฉลยกันเลยยย มาดูกฎข้อแรกในการเลือกช้อปรองเท้าผ้าใบคู่ที่ใช่ สำหรับสาวอวบกันเลยดีกว่าค่ะ สาว ๆ ลองส่องกระจกสำรวจหุ่นของตัวเองดูสิคะ ว่าหุ่นของเรามันแอบดูอ้วน ๆ กลม ๆ เหมือนลูกบอลรึเปล่า ? ถ้าคำตอบมันฟ้องว่าใช่ งานนี้ เราก็ขอแนะนำให้เลือกรองเท้าผ้าใบสไตล์ Low Top Sneakers หรือรองเท้าผ้าใบแบบไม่หุ้มข้อนั่นเองค่ะ เพราะว่ารองเท้าผ้าใบแบบนี้น่ะจะช่วยเผยให้เห็นช่วงขาของเราได้มากขึ้น แบบนี้เลยช่วยพรางตาให้หุ่นเราดูผอมเพรียว โชว์ช่วงขายาว ๆ ขึ้นมาได้อีกนิดหน่อยไงล่ะ – ที่มารูป:
– ที่มารูป: ซิสจ๋า ~ ไหน ๆ หุ่นของสาวอวบแบบเรา ก็ดูกลมกลึงไปทั่วทั้งตัวอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเวลาที่คุณสาว ๆ เลือกช้อปรองเท้าผ้าใบ ก็ควรหลีกเลี่ยงรองเท้าผ้าใบที่มีทรงอ้วน ๆ กลม ๆ ป้อม ๆ ไปให้ไกลเลยนะคะ เพราะว่ารองเท้าผ้าใบสไตล์นี้น่ะ ใส่แล้วจะยิ่งทำให้หุ่นของสาวซิสสายอวบ ดูกลมไปทั่วตัวตั้งแต่หัวจรดเท้าเลยน่ะสิ ทางที่ดีควรจะเลือกรองเท้าผ้าใบที่มีดีไซน์หัวแหลม ๆ หน่อย แทนที่จะเลือกหยิบรองเท้าผ้าใบที่มีดีไซน์หัว – ท้าย ลักษณะกลม ๆ มน ๆ นะจ๊ะตัวเธอ – ที่มารูป: – ที่มารูป: สาว ๆ คนไหนที่รู้ตัวว่านอกจากหุ่นของเราจะดูอวบ มีความเจ้าเนื้อกว่าคนอื่นเค้า แล้วยังแอบเป็นสาวตัวเล็กไซส์มินิ ( ด้านส่วนสูง ) แล้วเนี่ย ยิ่งต้องใส่ใจในการเลือกรองเท้าผ้าใบแบบสุด ๆ เลยนะคะ เพราะนอกจากจะต้องเลือกรองเท้าผ้าใบทรงเรียว ๆ สไตล์ Low Top แล้ว อีกหนึ่งทริคที่เราขอแนะนำก็คือการเลือกรองเท้าผ้าใบแบบเสริมส้น หรือที่เค้าเรียกกันว่า Platform Sneakers นั่นเองค่ะ ซึ่งรองเท้าผ้าใบที่มีดีไซน์เสริมส้นเข้าไปแบบนี้ จะช่วยเพิ่มความสูง ทำให้หุ่นดูเพรียว ไม่ดูเตี้ยตันอีกต่อไปแล้วล่ะ – ที่มารูป: – ที่มารูป: มาค่ะ ! มาดูกันต่อกับเทคนิคเลือกรองเท้าผ้าใบให้เหมาะกับสาวอวบกันต่อได้เลย สาว ๆ เคยสังเกตมั้ยคะว่าเวลาที่เราหยิบรองเท้าผ้าใบสีเข้ม ๆ อย่างสีดำมาใส่ทีไร ก็ยิ่งทำให้ช่วงขาดูสั้นลงไปเหมือนมีใครมาคาดดำเซ็นเซอร์บริเวณขาซะทุกที แบบนี้การเลือกสีสันจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กันเลยยังไงล่ะ ทางที่ดีสาวอวบอย่างเราควรจะเลือกรองเท้าผ้าใบสีอ่อนเอาไว้ก่อน ไม่ว่าจะเป็นสีขาวสุดคลาสสิก สีชมพูพาสเทล หรือสีเนื้อสไตล์เอิร์ธโทน เพราะจะช่วยทำให้ขาดูเพรียวและยาวขึ้นได้ – ที่มารูป: – ที่มารูป: ว้าย !!! เม้าท์ไป ช้อปไป แบบเพลิน ๆ เผลอแป๊บเดียวก็เดินทางมาถึงทริคเลือกซื้อรองเท้าผ้าใบคู่ที่ใช่ ทริคสุดท้ายสำหรับสาวอวบกันแล้วนะคะ ซึ่ง จริง ๆ แล้วเนี่ย ไม่ว่าจะเป็นสาวหุ่นไซส์ไหนก็ควรนำเทคนิคนี้ไปใช้ทุกคนเลย นั่นก็คือการเลือกไซส์รองเท้าขนาดพอดี ๆ ที่ไม่รัดเท้าจนเกินไป เพราะไม่งั้นอาจจะทำให้เท้าของคุณสาว ๆ ดูแน่น ตึงเปรี๊ยะ เหมือนแหนมโดนรัดเอาไว้ แบบนี้เวลาที่สาวซิสออกไปซื้อรองเท้าผ้าใบคู่ใหม่ ก็ควรจะลองใส่ ลองเดิน ลองกระโดดขึ้น – ลง เพื่อเช็คจนมั่นใจว่าไซส์ที่เลือกมา สวมใส่สบาย และพอดีกับขนาดเท้าของเราจริง ๆ #ซื้อของทั้งที ซื้อให้ดีไปเลยสิจ๊ะ – ที่มารูป: – ที่มารูป: ・・・・・・・・・・ และทั้งหมดนี้ก็คือทริคในการเลือกช้อปรองเท้าผ้าใบ ที่สาวอวบใส่แล้วไม่ดูเตี้ยตัน แถมยังช่วยพรางตาให้หุ่นดูสูงเพรียวขึ้นได้นั่นเองค่ะ พ้อยท์สำคัญในการเลือกรองเท้าผ้าใบคู่ที่ใช่ ก็คือการเลือกรองเท้าผ้าใบ โดยพิจารณาจากสไตล์ ดีไซน์ สีสัน และไซส์ที่เหมาะกับตัวเอง เพียงเท่านี้สาว ๆ ก็สามารถมิกซ์แอนด์แมทช์การแต่งตัวได้แบบเต็มที่ โดยไม่ต้องมานั่งวอรี่เรื่องหุ่นเลยล่ะ (ノ≧∀≦)ノ : ขาเรียว ไม่ต้องออกกำลังกาย ! แนะนำ 5 ทริคเลือก ‘รองเท้าผ้าใบ’ สำหรับ ‘.