สวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม ไม่ใส่รองเท้าแตะที่มีพื้นแข็ง ๆ โดยรองเท้าที่แนะนำคือ รองเท้ากีฬา รองเท้าวิ่งที่พื้นรองเท้านิ่ม ๆ ยิ่งในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก และต้องทำงานที่เดินเยอะ ๆ ยืนนาน ๆ ก็ยิ่งควรต้องใส่รองเท้าที่เหมาะสม ไม่เช่นนั้นหากเลือกใส่รองเท้าพื้นแข็ง ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นรองช้ำได้ง่ายมากขึ้น
Contents
เป็นรองช้ำรักษายังไงดี
6 วิธีรักษาให้ลาขาด จากโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ –
- 1. การพักและใช้ยาลดอาการอักเสบ การลดการเดิน (ใช้ไม้เท้าพยุง) การประคบความเย็นหรือน้ำแข็งประมาณ 20 นาที 3-4 ครั้ง/วัน ในตอนเย็นจะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ดี การรับประทานยาลดอาการอักเสบควรพิจารณาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและไม่ควรรับประทานต่อเนื่องนานเกิน 2-3 สัปดาห์
- 2. การบริหาร การบริหารเอ็นร้อยหวายและพังผืดฝ่าเท้าที่เหมาะสม จะช่วยทั้งรักษาและป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ดีที่สุด
- การบริหารเพื่อยืดเอ็นร้อยหวาย
ท่าที่ 1 ท่าที่ 2 ท่าที่ 3 ก ารบริหาร เพื่อยืดพังผืดฝ่าเท้า ท่าที่ 1 ท่าที่ 2 ท่าที่ 3
- ยืนหันหน้าเข้าฝาผนังแล้วดันมือกับผนัง ก้าวขาที่ต้องการยืดไปด้านหลัง ส้นเท้าติดพื้นย่อเข่าหน้าจนรู้สึกตึงขาหลัง ทำค้างไว้ประมาณ 30-60 วินาที ทำซ้ำ 10-20 ครั้ง/วัน หรืออาจจะนั่งกับพื้นราบแล้วใช้ผ้าเช็ดตัวช่วยตึงปลายเท้าก็ได้
- 3. การใช้แผ่นรองส้นเท้า
- การใช้แผ่นรองเท้าที่อ่อนนุ่ม หรือสวมรองเท้าที่เหมาะสม ก็ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี และการใส่เฝือกอ่อนจะช่วยลดการเคลื่อนไหวที่ข้อเท้าอาจเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยลดอาการอักเสบในช่วงแรกได้ดี
- 4. การรักษาด้วยความถี่ (Shock Wave)
- เป็นการกระตุ้นเอ็นพังผืดฝ่าเท้าให้มีเส้นเลือดมาเลี้ยงซ่อมแซมตังเอง ได้ผลการรักษาใกล้เคียงการผ่าตัด
- 5. การผ่าตัด (ส่วนน้อย)
- หากรับการรักษาแล้วแต่ยังมีอาการไม่หายขาด จึงมีความจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อผ่าตัดพังผืดเท้าบางส่วนและนำหินปูนที่กระดูกส้นเท้าออก
- 6. การฉีดยาลดการอับเสบ
- ไม่ควรใช้ยาสเตียรอยด์ฉีดเข้าบริเวณส้นเท้า เนื่องจากจะทำให้รักษาได้ยากขึ้น และมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกติดเชื้อ ไขมันฝ่าเท้าฝ่อ หรือ เอ็นฝ่าเท้าฉีกขาดซึ่งยากต่อการรักษามาก
รองช้ำที่เท้าเกิดจากสาเหตุอะไร
โรครองช้ำ เกิดจากการรองรับการกระแทกของฝ่าเท้าและอุ้งเท้า ในขณะที่เรามีการยืน เดิน ซึ่งมีการลงน้ำหนักบนฝ่าเท้า ทำให้อุ้งเท้าของเราแบนราบกับพื้น และแรงที่กระทบลงมานั้น ทำให้เกิดแรงตึงตัวระหว่างส้นเท้ามากขึ้นจนเกิดเป็นพังผืดหรือได้รับความเสียหาย มีการอักเสบสะสมเรื่อย ๆ จนเกิดการฉีกขาดของเอ็นฝ่าเท้า ซึ่งการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้านั้น มักมีอาการปวดบวมบริเวณส้นเท้าในแนวตามแถบของพังผืดใต้ฝ่าเท้าตอนตื่นนอน มีอาการเจ็บแปล๊บ ๆ เหมือนโดนอะไรมาแทงบริเวณส้นเท้าหรือปวดแบบโดนของร้อน ๆ สัมผัส และจะดีขึ้นหลังจากได้เดิน แต่ก็อาจจะกลับมาปวดอีกครั้งก่อนนอน อาการจะเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งสาเหตุหลักของการสาเหตุหลักของการเป็นโรครองช้ำมาจากการใช้งานข้อเท้าหนักเกินไป การเดินมากๆ วิ่งมากเกินไป ใส่รองเท้าส้นสูงมากและนานเกินไป รวมถึงในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือมีกระดูกรูปเท้าผิดปกติ เช่น อุ้งเท้าแบน หรือโก่งมากเกินไป การออกกำลังกายบางประเภท อาทิ การเต้นแอโรบิค การปั่นจักรยาน ภาวะกระดูกงอกบริเวณกระดูกส้นเท้า ไขมันบริเวณส้นเท้าฝ่อลีบตามอายุ เองก็มีส่วนทำให้อุ้งเท้าและฝ่าเท้าได้รับแรงกระแทกจนเกิดเป็นโรครองช้ำต่อมา
เป็นโรครองช้ำกี่วันหาย
วิธีรักษาโรครองช้ำที่ส้นเท้า – โรครองช้ำเป็นโรคที่สร้างความทรมาน จากอาการปวดเท้า ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การรักษาโรครองช้ำ จะใช้การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัดเป็นหลัก ประมาณ ร้อยละ 80 – 90 ของผู้ป่วย อาการจะดีขึ้น แต่ต้องใช้ความอดทนในการดูแลรักษาตัวเอง (อาจใช้เวลานานถึง 2 – 6 เดือน) และต้องอาศัยหลาย ๆ วิธีประกอบกัน คือ
รองช้ำควรหาหมอไหม
อาการปวดส้นเท้า สัญญาณของ “โรครองช้ำ”
อาการปวดส้นเท้ามีความหลากหลายซ่อนอยู่ บางอาการอาจเป็นเพียงปวดเมื่อยธรรมดา หรือเป็นอาการบาดเจ็บชั่วคราวของกล้ามเนื้อ แต่บางอาการก็อาจเป็นสัญญาณของโรคที่ต้องได้รับการรักษา ขณะที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนและละเลยอาการป่วยนั้นไปทำให้ส่งผลเสียตามมา วันนี้เราจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดส้นเท้าที่เป็นสัญาณของโรครองช้ำ เพื่อให้หลายคนได้สังเกตอาการเบื้องต้นกันและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป อาการของโรครองช้ำนี้คือปวดบริเวณส้นเท้าไปจนถึงฝ่าเท้า โดยเฉพาะก้าวแรกหลังจากตื่นนอนหรือหลังจากนั่งพักนานๆ โรคนี้เป็นโรคที่คนส่วนใหญ่เป็นแต่ไม่รู้ว่าตัว พบมากในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุของโรคเกิดจากการรับน้ำหนักเป็นเวลานาน ทำให้เอ็นที่ฝ่าเท้ารับน้ำหนักมาก พบได้บ่อยกับผู้ที่ต้องยืนเป็นเวลานานระหว่างวัน นอกจากนี้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นก็อาจทำให้เกิดโรคนี้ได้ หรือสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้าที่ไม่มีพื้นบุรองส้นเท้า เป็นต้น รวมถึงลักษณะการทำกิจกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เพิ่มระยะทางการวิ่งออกกำลังกาย การเดินหรือวิ่งบนพื้นผิวที่ต่างไปจากเดิม ที่ทำให้เกิดโรคได้ โครงสร้างร่างกายบางครั้งก็มีความเสี่ยง เช่น เท้าแบนเกินไป อุ้งเท้าโก่งมากเกินไปหรือเส้นเอ็นยึดบริเวณน่อง ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อเท้าได้ตามปกติ อาการหลักๆ ของโรคนี้คือ อาการเจ็บที่ส้นเท้าแล้วลามไปทั่วฝ่าเท้า ลักษณะของอาการเจ็บจะเป็นแบบปวดจี๊ดขึ้นมาและปวดอักเสบ โดยความเจ็บปวดจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อย อาการปวดจะรุนแรงที่สุดเมื่อเริ่มมีการลงน้ำหนักที่ส้นเท้าในก้าวแรก นอกจากนี้อาจมีอาการปวดขึ้นได้ในระหว่างวัน การรักษาสามารถรักษาได้โดยการไม่ต้องผ่าตัด การรักษาที่สำคัญที่สุดคือการนวดบริเวณฝ่าเท้า การนำเท้าแช่ในน้ำอุ่นเป็นเวลา 5-10 นาที ส่วนการรับประทานยาก็สามารถช่วยได้เช่นกัน แต่หลักๆ อยู่ที่การทำกายภาพบำบัด ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาแต่ละคนไม่เท่ากัน ส่วนการผ่าตัดมีความเสี่ยงมากกว่า เพราะจะผ่าตัดบริเวณผังผืดที่อักเสบออกไป ซึ่งบางคนเมื่อผ่าตัดไปแล้วอาจจะทำให้เท้าแบนถาวรได้ แม้โรครองช้ำจะไม่ใช่โรคที่อันตรายหรือร้ายแรง แต่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นหากมีอาการปวดส้นเท้าผิดปกติควรรีบพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที ที่มา :
Please follow and like us: : อาการปวดส้นเท้า สัญญาณของ “โรครองช้ำ”
โรครองช้ํารักษาหายไหม
สรุป ในความเป็นจริงแล้ว รองช้ำไม่ได้เป็นโรคอันตรายร้ายแรง และ รักษาได้ไม่ยากเลย แต่ถ้าปล่อยเอาไว้นานวันไปโดยไม่ได้รักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดส้นเท้าจนรบกวนความสามารถในดำเนินชีวิตประจำวันได้ ซึ่งเมื่อมารักษาในระยะที่เป็นรุนแรงแล้ว ก็จะต้องใช้เวลานานมากขึ้นกว่าจะกลับมาหายเป็นปกติ
เป็นรองช้ำอันตรายไหม
แม้จะดูเหมือนโรคนี้ ไม่อันตรายร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันได้ หากมีอาการปวดส้นเท้าผิดปกติควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
พังผืดที่เท้าเกิดจากอะไร
เคยหรือไม่ที่มีอาการเจ็บที่ส้นเท้าจนลามไปทั่วฝ่าเท้า โดยเฉพาะจะมีอาการปวดมากที่สุดเมื่อลุกเดินก้าวแรกหลังตื่นนอนหรือหลังจากนั่งพักเป็นเวลานาน หากเคย นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ” โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ หรือที่มักจะรู้จักกันในชื่อ โรครองช้ำ เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยจะพบมากในผู้ป่วยอายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุของโรคอาจเกิดได้จาก
การรับน้ำหนักเป็นเวลานาน ทำให้เอ็นที่ฝ่าเท้ารับน้ำหนักมาก พบได้บ่อยในผู้ที่ต้องยืนเป็นเวลานานในระหว่างวัน เช่น ผู้ที่ต้องยืนตลอดกะการทำงานทั้ง 8 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น น้ำหนักตัวมาก น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอาจก่อให้เกิดพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้ สวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้าที่ไม่มีพื้นบุรองส้นเท้า ลักษณะการทำกิจกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เพิ่มระยะทางการวิ่งออกกำลังกาย การเดิน/วิ่งบนพื้นผิวที่ต่างไปจากเดิมหรือบนพื้นผิวแข็ง (เช่น พื้นซีเมนต์หรือคอนกรีต) เอ็นร้อยหวายยึด ทำให้ส้นเท้าไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือข้อสันหลังอักเสบ อาจทำให้มีโอกาสเกิดการอักเสบที่เส้นเอ็นในจุดใดจุดหนึ่งที่เชื่อมต่อกับกระดูก ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้ ปัจจัยทางโครงสร้างร่างกาย เช่น เท้าแบนเกินไป อุ้งเท้าโก่งมากเกินไป หรือเส้นเอ็นยึดบริเวณน่องทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อเท้าได้ตามปกติ
อาการหลักๆ ของโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ คือ อาการเจ็บที่ส้นเท้าและลามไปทั่วฝ่าเท้า ในบางครั้งอาจลามไปที่อุ้งเท้าด้วย ลักษณะของอาการเจ็บจะเป็นแบบปวดจี๊ดขึ้นมาและปวดแสบ โดยมากความเจ็บปวดจะค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อย จนคิดว่าเดี๋ยวอาการปวดก็หายไป แต่ก็จะกลับมาปวดอีก อาการปวดจะรุนแรงที่สุดเมื่อเริ่มมีการลงน้ำหนักที่ส้นเท้าในก้าวแรก เช่น เมื่อลุกเดินก้าวแรกหลังตื่นนอน หรือหลังจากนั่งพักเป็นเวลานาน นอกจากนี้ อาจมีอาการปวดมากขึ้นได้ในช่วงระหว่างวันและ/หรือหลังจากที่เท้าต้องรับน้ำหนักเป็นเวลานาน เช่น ยืนหรือเดินเป็นเวลานาน และเมื่อมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นก็จะยิ่งมีอาการปวดมากขึ้น สำหรับ การรักษาโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ ทำได้โดย
รับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับกระดูก เช่น อุปกรณ์เสริมอุ้งเท้าด้านใน (arch support) และ/หรืออุปกรณ์รองรับส้นเท้า (heel cushion) ทำกายภาพบำบัด ได้แก่ การฝึกยืดเอ็นร้อยหวาย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ฉีดสเตียรอยด์ แต่เป็นวิธีที่ไม่นิยมนัก โดย 98% ของผู้ที่ได้รับการฉีดสเตียรอยด์จะรู้สึกดีขึ้น แต่ต้องใช้เวลานานถึง 18 เดือนจึงจะหายขาด และในบางครั้งโรคอาจเกิดขึ้นมาได้อีก
ทั้งนี้ การรักษาโรคนี้โดยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ การเจ็บปวดต่อเนื่อง การที่เส้นประสาทเล็กๆ บริเวณฝ่าเท้าได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งอาจทำให้เกิดความรู้สึกชาและเหมือนมีเข็มตำที่ส้นเท้า นอกจากนี้การผ่าตัดนำพังผืดออกอาจส่งผลให้ฝ่าเท้าแบนอีกด้วย แม้จะดูเหมือนโรคนี้ไม่อันตรายร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันได้ หากมีอาการปวดส้นเท้าผิดปกติควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป เรียบเรียงโดย นพ.วิทูร บุญถนอมวงศ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ
เอ็นร้อยหวายอักเสบพักนานแค่ไหน
เอ็นร้อยหวายอักเสบรักษานานไหม โรคนี้ใช้เวลารักษาให้หายขาดค่อนข้างนานหน่อยนะครับ เนื่องจากการอักเสบและบาดเจ็บที่เกิดขึ้นเกิดจากการสะสมมานานหลายๆเดือน ดังนั้นการรักษาจนหายขาดก็ต้อง ใช้เวลาเป็นเดือนๆ เหมือนกัน
อาการรองช้ำเป็นยังไง
ข้อห้ามของคนเป็นโรงรองช้ำ –
อย่าทานยาไอบูโพรเฟน อย่าเดินหรือยืนเป็นเวลานานๆ อย่าสวมรองเท้าส้นสูงหรือรองเท้าหัวแหลม พยายามอย่าเดินเท้าเปล่าบนพื้นแข็ง
ปรึกษาผู้เชียวชาญ โทร: 087-049-1333 หรือ Line: (มี @ ด้วย) รองช้ำ หรือ พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ เป็นอาการที่เกิดจากการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้า มักเป็นโรคที่พบได้บ่อย มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการบาดเจ็บส่วนใหญ่จะมีอาการบาดเจ็บที่มักเกิดจากการบาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ฝ่าเท้าและสะสมมาเป็นเวลานาน ที่อาจจะเกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูง หรือ อาจเกิดจากการออกกำลังที่ไม่ถูกต้อง จะมีการอักเสบ ปวดบวม เกิดจากการยืดเกินกว่าปกติของผังผืดใต้ฝ่าเท้า มีอาการเหมือนกับ อาการ กระดูกส้นเท้างอกผิดปกติ ( Heel Spur Syndrome) โรครองช้ำมักทำให้เกิดอาการปวดหรือเจ็บบริเวณส้นเท้าเท้า แต่อาจส่งผลกระทบต่อทั้งฝ่าเท้าได้อาจจะทำให้เวลาเดินหรือวิ่งจะไม่ค่อยสะดวก
ถ้าเอ็นร้อยหวายขาดจะเดินได้ไหม
อาการเมื่อเกิดเอ็นร้อยหวายขาด เดินลำบาก ส่วนใหญ่ต้องออกจากการแข่งขันทันที รู้สึกอ่อนแรงข้อเท้า เดินก้าวยาวๆไม่ได้ ยืนเขย่งขาข้างเดียวไม่ได้
รองช้ำฉีดยาได้ไหม
ฉีดยารักษารองช้ำได้ไหม – การฉีดยารักษารองช้ำนั้น ได้ผลครับ แต่จะได้ผลชั่วคราวแล้วอาการจะกลับมาเป็นอีก เนื่องจากยาที่ฉีดส่วนใหญ่จะเป็นยาชาผสมกับยาสเตียรอยต์ เมื่อฉีดเข้าไปแล้ว จะกดการอักเสบบริเวณนั้น ทำให้อาการดีขึ้นครับ แต่ถ้าพังผืดฝ่าเท้ายังตึงอยู่ เดี๋ยวอาการก็กลับมาเป็นอีกครับ การฉีดสเตียรอยด์ยังมีความเสี่ยงอื่นๆด้วยนะครับ เช่น การติดเชื้อ การทำให้ไขมันส้นเท้าฝ่อ และการทำให้พังผืดฝ่าเท้าขาดได้ ดังนั้นถ้าจะฉีดมีคำแนะนำดังนี้
ฉีดได้ไม่เกิน 2-3 ครั้ง ถ้าไม่หายก็ไม่ควรฉีดอีกแล้ว แต่ละครั้งควรฉีดห่างกันอย่างน้อย 3 เดือน ฉีดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถ้าเป็นไปได้ควรมีอุปกรณ์อัลตราซาวด์มาช่วยบอกตำแหน่งเข็มด้วยว่าปลายเข็มอยู่บริเวณพังผืดฝ่าเท้า
เท้าเป็นรู อันตรายไหม
ผู้ป่วยโรคเท้าเป็นรูควรทำอย่างไร – แม้โรคเท้าเป็นรูจะไม่ส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงใด ๆ ทางร่างกาย แต่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้ รอยรูอาจรวมตัวกันจนมีขนาดใหญ่ หรือฝ่าเท้าอาจส่งกลิ่นเหม็นมากขึ้น และที่สำคัญผู้ป่วยไม่ควรหายามาใช้เอง เนื่องจากยาบางชนิดอาจมีส่วนผสมของสารระงับเหงื่อ สารต้านเชื้อรา หรือสารต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้อาการแย่ลงได้ ในการรักษาโรคเท้าเป็นรู แพทย์จะ สั่ง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) หรือยาฆ่าเชื้อ (Antiseptics) ชนิดทาให้ผู้ป่วย โดยชนิดของยาอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ นอกจากนี้ ในระหว่างทำการรักษา แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่างร่วมด้วยเพื่อช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น
หลีกเลี่ยงการสวมใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่รัดแน่นจนเกินไป เลือกสวมใส่ถุงเท้าที่ช่วยซับเหงื่อได้ดี สลับใช้รองเท้าหลาย ๆ คู่ และนำรองเท้าที่ใช้แล้วไปตากแดดบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการใช้รองเท้าและผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น ล้างเท้าให้สะอาดทุกครั้งหลังอาบน้ำ และเช็ดเท้าให้แห้งสนิททุกครั้ง
โดยปกติ หลังจากได้รับการรักษาที่เหมาะสมโดยแพทย์ อาการของผู้ป่วยโรคเท้าเป็นรูจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปหลังจากใช้ยาเป็นระยะเวลา 1–8 สัปดาห์ ทั้งนี้ โรคเท้าเป็นรูอาจกลับมาเกิดซ้ำได้หากผู้ป่วยปล่อยให้เท้าเกิดความชื้นบ่อย ๆ ดังนั้น ภายหลังจากการรักษา ผู้ป่วยควรรักษาเท้าให้แห้งและสะอาดเสมอ โดยการสวมถุงเท้าที่ช่วยดูดซับความชื้นได้ดี อย่างถุงเท้าที่ทำมาจากผ้าฝ้าย ผ้าโพลีเอสเตอร์ หรือเส้นใยไนลอน รวมถึงควรนำรองเท้าไปตากแดดบ่อย ๆ และหากเป็นไปได้ ให้เลือกสวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าที่ระบายอากาศได้ดีเสมอ
โรครองช้ำนวดได้ไหม
การที่จะนวดเท้า เพื่อบรรเทาอาการรองช้ำ นั้นต้องนวดกล้ามเนื้อให้ถูกต้อง และไม่ต้องนวดแรงเกินไป เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบ อาการปวดรองช้ำแทนที่จะทุเลา อาจทำให้บาดเจ็บมากขึ้นกว่าเดิมได้ ดังนั้นจึงต้องนวดให้ถูกต้องตามทิศทางของกล้ามเนื้อ เอ็นและพังผืด โดยจุดที่จะนวดเท้าเพื่อบรรเทาอาการรองช้ำ จะมี 3 จุดสำคัญ ดังนี้ 1. ภาพที่ 1 – พังผืดฝ่าเท้า ( Plantar fascia ) ภาพที่ 2 – ภาพทิศทางนวดขึ้นลงตามแนวของฝ่าเท้า เริ่มจากบริเวณส้นเท้า ไล่ไปยังกลางฝ่าเท้า 2. นวดบริเวณส้นเท้า ให้นวดโดยใช้นิ้วโป้งกดคลึงค้างไว้บริเวณส้นเท้า ตามภาพที่ 4 ค้างไว้ 5 วินาที และปล่อย ทำซ้ำจุดละ 3 ครั้ง โดยกดคลึงให้ทั่วบริเวณส้นเท้า บริเวณที่รับน้ำหนักของเท้า จะช่วยให้จุดเกาะต้นของพังผืดฝ่าเท้าได้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทั้งนี้ให้ร่วมกับนำเท้าแช่น้ำอุ่น เป็นเวลาประมาณ 15 – 20 นาที เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด และลดอาการปวดตึงของพังผืดฝ่าเท้า ภาพที่ 3 – บริเวณกระดูกส้นเท้าที่เป็นจุดเกาะต้นของพังผืดฝ่าเท้า ภาพที่ 4 – ภาพนวดโดยใช้นิ้วโป้งกดคลึงค้างไว้บริเวณส้นเท้า ค้างไว้ 5 วินาที และปล่อย 3. การนวดเอ็นร้อยหวาย ( Achilles tendon) ให้นวดโดยใช้นิ้วเริ่มกดเบาๆ ตั้งแต่บริเวณบนขอบส้นเท้าแล้วค่อยๆ นวดขึ้นไปยังเอ็นร้อยหวาย ตามภาพที่ 5 โดยนวดขึ้นลงเบาๆ ให้ครบ 3 รอบ เพื่อคลายอาการตึงตัวของจุดเกาะต้นของเอ็นร้อยหวาย ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของกล้ามเนื้อน่อง ( Gastrocnemius ) ซึ่งจะช่วยให้เอ็นร้อยหวายลดอาการตึงตัว และจะส่งผลให้กล้ามเนื้อน่อง มีเลือดมาไหลเวียนมากขึ้น ทำให้ลดอาการปวดเอ็นร้อยหวายและน่อง รวมไปถึงกำจัดของเสียที่คั่งค้าง เช่น กรดแลคติก ที่เป็นสาเหตุหลักของการเป็นตะคริว ภาพที่ 5 – ภาพเอ็นร้อยหวาย ( Achilles tendon ) จุดเชื่อมต่อของกล้ามเนื้อน่อง ( Gastrocnemius ) ภาพที่ 6 – ภาพนวดโดยใช้นิ้วเริ่มกดเบาๆ ตั้งแต่บริเวณบนขอบส้นเท้า แล้วค่อยๆ นวดขึ้นไปยังเอ็นร้อยหวาย หากท่านมีอาการปวดฝ่าเท้า หรือน่อง ท่านสามารถเลือกทรีตเมนท์นวดฝ่าเท้าพร้อมประคบร้อน หรือปรึกษานักกายภาพบำบัด เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่เซนวนา เวลเนส สามารถติดต่อเพื่อจองคิวและสอบถาม ได้ทางไลน์ @zenvanaspa หรือ โทร.090-654-4269 อ้างอิงจาก 1.
StayWell (2019). Understanding Plantar Fasciitis. https://www.floridafootankle.com/plantar-fasciitis-stretches-2/.2. Nikko Kim (2019). Treating the Achilles tendon. https://www.habit.co.nz/news-and-articles/2019-06-26/treating-the-achilles-tendon/.3. Mayo’s Clinic Staff. (2019). Plantar fasciitis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/plantar-fasciitis/symptoms-causes/syc-20354846.4.
ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา (2020).12- ความลับของการนวดฝ่าเท้า และกดจุดฝ่าเท้า, https://sites.google.com/site/nwdphaenthiy/withi-kar-nwd-khan-phun-than/khwam-lab-khxng-kar-nwd-fathea-laea-kd-cud-fathea,
เอ็นเข่าอักเสบ รักษายังไง
ปวดเข่าเฉียบพลัน เป็นอะไรได้บ้าง? ปวดเข่าเฉียบพลัน เป็นอะไรได้บ้าง?
- วันนี้หมอจะพูดถึงกลุ่มอาการที่น่าสนใจครับ นั่นก็คือ อาการปวดข้อเข่า ซึ่งพบได้บ่อยๆ โดยหนึ่งในกลุ่มอาการนี้คือ “อาการปวดข้อเข่าเฉียบพลัน”
- ข้อเข่ามีส่วนประกอบที่ซับซ้อน โดยแต่ละส่วนมีการขยับค่อนข้างมาก ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บหรืออักเสบได้โดยง่าย รวมไปถึงอายุที่มากขึ้นจะส่งผลให้เกิดการเสื่อมของผิวข้อเข่า เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเข่ามีความแข็งแรงลดลง ส่งผลให้เกิดอาการปวดข้อเข่าได้ง่าย
- ถ้าผู้อ่านมีอาการปวดข้อเข่าขึ้นอย่างเฉียบพลัน สาเหตุเป็นได้จากการฉีกขาด ความเสื่อม การอักเสบ เกาต์ รูมาตอยด์ กระดูกแตกร้าว ไปจนถึงภาวะติดเชื้อ โดยไม่ว่าสาเหตุจะมาจากอุบัติเหตุหรือการใช้ชีวิตปกติก็ตาม ถือว่ามีความสำคัญที่ควรจะพักการใช้งานข้อเข่า และหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเหล่านั้น
- บทความนี้ หมอจะกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าเฉียบพลัน เพื่อที่ผู้อ่านจะได้มีความเข้าใจและวางแผนแนวทางการรักษาต่อไปได้ครับ
- สาเหตุที่เป็นไปได้และพบได้บ่อยของอาการปวดข้อเข่าเฉียบพลัน ได้แก่
- – เอ็นอักเสบ
- – Runner’s knee (กลุ่มอาการปวดข้อเข่าที่พบในนักวิ่ง)
- – เอ็นฉีกขาด
- – ข้อเข่าเสื่อม
- – หมอนรองข้อเข่าฉีดขาด
- – เกาต์
- – ถุงน้ำข้อเข่าอักเสบ
- – ข้อเข่าติดเชื้อ
- – กระดูกแตกร้าว
- หมอจะอธิบายสั้นๆ ถึงความแตกต่างของแต่ละสาเหตุให้ฟังครับ
- เอ็นอักเสบ โดยพื้นฐานเอ็นเป็นโครงสร้างที่ต่อกระดูกข้อเข่าเข้าไว้ด้วยกัน ให้ความมั่นคงและขยับตามการเคลื่อนไหวของข้อเข่า การใช้งานข้อเข่าอย่างหนักหรือเป็นเวลานาน จะส่งผลให้เกิดการอักเสบเฉียบพลันของเอ็นเหล่านั้น เกิดอาการตึง บวม ปวดหน่วงๆ บริเวณข้อเข่า ส่งผลให้ขยับข้อเข่าไม่คล่องเหมือนเดิมได้
- Runner’s knee พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ขณะวิ่งจะเกิดจากการเสียดสีอย่างต่อเนื่องของกระดูกสะบ้า กับกระดูกข้อเข่า ส่งผลให้เกิดการอักเสบใต้ต่อลูกสะบ้า หรือกระดูกอ่อนบริเวณนั้นค่อยๆ สึกลงจนส่งผลให้เกิดอาการปวดเฉียบพลันได้ โดยอาการปวดจะลึกลงใต้ต่อตัวกระดูกสะบ้า บางรายจะรู้สึกปวดบริเวณด้านหน้าของข้อเข่า โดยมีสาเหตุของอาการปวดนี้ได้หลายประการ ไว้หมอจะมาเล่าให้ฟังในบทความต่อๆไปครับ
- เอ็นฉีกขาด พบได้ไม่บ่อยนัก สาเหตุมักเกิดจากอุบัติเหตุ หรือ การเล่นกีฬาอย่างหนัก โดยเอ็นที่พบบ่อยที่สุดคือ เอ็นไขว้หน้า (ACL) เอ็นด้านในข้อเข่า (MCL) อาการคือ ปวดเฉียบพลันและอาจได้ยินเสียงป๊อป หลังจากนั้นมีอาการบวมและปวดมากตามมา
- ข้อเข่าเสื่อม ทำให้เกิดอาการปวดอย่างเฉียบพลันได้เช่นเดียวกัน โดยผู้ป่วยมีข้อเข่าเสื่อมอยู่ก่อนแล้ว และอาการอักเสบถูกกระตุ้นโดยกิจกรรมบางอย่าง เช่น นั่งยอง นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ หรือขึ้นลงบันได ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อเข่า บวม บางครั้งมีข้อเข่าอุ่นๆ ร่วมด้วย อาการจะเป็นเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้
- หมอนรองข้อเข่าฉีกขาด สาเหตุมักเกิดจากการบิดของข้อเข่า ขณะทำกิจกรรมต่างๆ ผู้ป่วยอาจได้ยินเสียงป๊อป หลังจากนั้นตามมาด้วยอาการปวดเข่ามากเฉียบพลัน บางครั้งอาจเกิดอาการเข่าล็อคขยับไม่ได้ มักเป็นเพียงข้างเดียง
- เกาต์ เกิดจากร่างกายมีกรดยูริคสูง กรดยูริคจะไปสะสมที่เท้า และข้อเข่าทั้งสองข้าง ส่วนมากพบในชายวัยกลางคน หรือหญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณข้อเข่า โดยหากไม่มีประวัติเคยปวดเข่ามาก่อนเลย มีความเป็นไปได้สูงครับ ว่าข้อเข่าอักเสบนี้อาจเป็นจากเกาต์
- ถุงน้ำข้อเข่าอักเสบ ในผู้ป่วยที่มีถุงน้ำบริเวณข้อเข่า ไม่ว่าจะเกิดจากโรคข้อเข่าเสื่อม หมอนรองข้อเข่าบาดเจ็บ หรือจากสาเหตุอื่นๆ ก็ตาม การขยับของข้อเข่าจากการเดินหรือวิ่ง มีโอกาสทำให้มีเลือดออกในถุงน้ำหรือมีการอักเสบเกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการปวดข้อเข่าเฉียบพลันได้ครับ
- ข้อเข่าติดเชื้อ เกิดจากการติดเชื้อบริเวณข้อเข่า โดยเชื้อโรคเหล่านี้อาจมาทางกระแสเลือด หรือเข้าไปในข้อเข่าโดยตรงผ่านแผลที่ผิวหนังก็ได้ อาการมักจะเริ่มจากปวด จากนั้นมีบวม แดง ร้อน ร่วมด้วย ผู้ป่วยที่มีโรคเกาต์ หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีโอกาสที่จะเกิดโรคข้อเข่าติดเชื่อมากกว่าคนปกติครับ
- ข้อสุดท้ายคือ กระดูกแตกร้าว ส่วนมากจะเกิดจากอุบัติเหตุ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบวมที่ข้อเข่าอย่างเฉียบพลัน และบ่อยครั้งพบว่ามีข้อเข่าผิดรูปร่วมด้วย แต่หากผู้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนอยู่ก่อน จะส่งผลให้มีโอกาสเกิดกระดูกข้อเข่าแตกร้าวมากขึ้นครับ
- สำหรับแนวทางการรักษานั้น จะขึ้นกับการวินิจฉัยเป็นหลัก
- กลุ่มอาการที่เกิดจากกระดูกหักหรือแตกร้าว ควรต้องรับการรักษาโดยการใส่อุปกรณ์พยุงข้อเข่าหรือบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด
- กลุ่มอาการ เอ็นอักเสบ เกาต์ ถุงน้ำข้อเข่าอักเสบ และ runner’s knee ควรได้รับการรักษาเริ่มจากการพัก, ประคบเย็น, การพันข้อเข่าเพื่อลดบวมด้วยผ้ายืด, ยกขาสูง, รวมไปถึงการรับประทานยา หากอาการไม่ดี ขึ้นควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องต่อไป
- กลุ่มอาการเส้นเอ็น ข้อต่อ หรือกระดูกอ่อนได้รับบาดเจ็บ ควรได้รับการตรวจและวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทาง แพทย์อาจต้องการภาพเอ็กซเรย์หรือเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อช่วยในการวินิจฉัย และรักษาได้อย่างถูกต้อง ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดในบางกรณีครับ
- กลุ่มอาการข้อเข่าเสื่อม หากมีอาการปวดเฉียบพลันจากข้อเข่าเสื่อม มักเกิดจากการอักเสบ การรักษาที่สำคัญเบื้องต้นจึงเป็นไปในแนวทางเพื่อลดการอักเสบ ไม่ว่าจะเป็นการ รับประทานยา พักการใช้งานข้อเข่า ไปจนถึงการฉีดยา รวมถึงการฝึกกล้ามเนื้อขาให้แข็งแรง และการให้ความรู้เกี่ยวกับการระวัง ป้องกันไม่ให้ข้อเข่าเกิดการอักเสบได้อีกในอนาคตด้วย
- หมอหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านและคนใกล้ตัว เผื่อเกิดเหตุการณ์ปวดเข่าเฉียบพลันขึ้น จะได้ทราบสาเหตุและแนวทางในการรักษารวมไปถึงดูแลข้อเข่าเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องครับ
- พบกันใหม่บทความหน้า วันนี้สวัสดีครับ
- บทความโดย
- นพ.เกรียงศักดิ์ เล็กเครือสุวรรณ
- แพทย์ผู้ชำนาญการด้านคลินิกระงับปวด และผ่าตัด ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อไหล่
- ศูนย์ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์เฉพาะทาง ชั้น 2 โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ถนนแจ้งวัฒนะ (WMC)
- โทร 02 836 9999 ต่อ 2621-3 หรือ Line: @wmcortho
: ปวดเข่าเฉียบพลัน เป็นอะไรได้บ้าง?
เอ็นร้อยหวายอักเสบพักนานแค่ไหน
เอ็นร้อยหวายอักเสบรักษานานไหม โรคนี้ใช้เวลารักษาให้หายขาดค่อนข้างนานหน่อยนะครับ เนื่องจากการอักเสบและบาดเจ็บที่เกิดขึ้นเกิดจากการสะสมมานานหลายๆเดือน ดังนั้นการรักษาจนหายขาดก็ต้อง ใช้เวลาเป็นเดือนๆ เหมือนกัน
รองช้ำฉีดยาได้ไหม
ฉีดยารักษารองช้ำได้ไหม – การฉีดยารักษารองช้ำนั้น ได้ผลครับ แต่จะได้ผลชั่วคราวแล้วอาการจะกลับมาเป็นอีก เนื่องจากยาที่ฉีดส่วนใหญ่จะเป็นยาชาผสมกับยาสเตียรอยต์ เมื่อฉีดเข้าไปแล้ว จะกดการอักเสบบริเวณนั้น ทำให้อาการดีขึ้นครับ แต่ถ้าพังผืดฝ่าเท้ายังตึงอยู่ เดี๋ยวอาการก็กลับมาเป็นอีกครับ การฉีดสเตียรอยด์ยังมีความเสี่ยงอื่นๆด้วยนะครับ เช่น การติดเชื้อ การทำให้ไขมันส้นเท้าฝ่อ และการทำให้พังผืดฝ่าเท้าขาดได้ ดังนั้นถ้าจะฉีดมีคำแนะนำดังนี้
ฉีดได้ไม่เกิน 2-3 ครั้ง ถ้าไม่หายก็ไม่ควรฉีดอีกแล้ว แต่ละครั้งควรฉีดห่างกันอย่างน้อย 3 เดือน ฉีดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถ้าเป็นไปได้ควรมีอุปกรณ์อัลตราซาวด์มาช่วยบอกตำแหน่งเข็มด้วยว่าปลายเข็มอยู่บริเวณพังผืดฝ่าเท้า
โรครองช้ำนวดได้ไหม
การที่จะนวดเท้า เพื่อบรรเทาอาการรองช้ำ นั้นต้องนวดกล้ามเนื้อให้ถูกต้อง และไม่ต้องนวดแรงเกินไป เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบ อาการปวดรองช้ำแทนที่จะทุเลา อาจทำให้บาดเจ็บมากขึ้นกว่าเดิมได้ ดังนั้นจึงต้องนวดให้ถูกต้องตามทิศทางของกล้ามเนื้อ เอ็นและพังผืด โดยจุดที่จะนวดเท้าเพื่อบรรเทาอาการรองช้ำ จะมี 3 จุดสำคัญ ดังนี้ 1. ภาพที่ 1 – พังผืดฝ่าเท้า ( Plantar fascia ) ภาพที่ 2 – ภาพทิศทางนวดขึ้นลงตามแนวของฝ่าเท้า เริ่มจากบริเวณส้นเท้า ไล่ไปยังกลางฝ่าเท้า 2. นวดบริเวณส้นเท้า ให้นวดโดยใช้นิ้วโป้งกดคลึงค้างไว้บริเวณส้นเท้า ตามภาพที่ 4 ค้างไว้ 5 วินาที และปล่อย ทำซ้ำจุดละ 3 ครั้ง โดยกดคลึงให้ทั่วบริเวณส้นเท้า บริเวณที่รับน้ำหนักของเท้า จะช่วยให้จุดเกาะต้นของพังผืดฝ่าเท้าได้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทั้งนี้ให้ร่วมกับนำเท้าแช่น้ำอุ่น เป็นเวลาประมาณ 15 – 20 นาที เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด และลดอาการปวดตึงของพังผืดฝ่าเท้า ภาพที่ 3 – บริเวณกระดูกส้นเท้าที่เป็นจุดเกาะต้นของพังผืดฝ่าเท้า ภาพที่ 4 – ภาพนวดโดยใช้นิ้วโป้งกดคลึงค้างไว้บริเวณส้นเท้า ค้างไว้ 5 วินาที และปล่อย 3. การนวดเอ็นร้อยหวาย ( Achilles tendon) ให้นวดโดยใช้นิ้วเริ่มกดเบาๆ ตั้งแต่บริเวณบนขอบส้นเท้าแล้วค่อยๆ นวดขึ้นไปยังเอ็นร้อยหวาย ตามภาพที่ 5 โดยนวดขึ้นลงเบาๆ ให้ครบ 3 รอบ เพื่อคลายอาการตึงตัวของจุดเกาะต้นของเอ็นร้อยหวาย ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของกล้ามเนื้อน่อง ( Gastrocnemius ) ซึ่งจะช่วยให้เอ็นร้อยหวายลดอาการตึงตัว และจะส่งผลให้กล้ามเนื้อน่อง มีเลือดมาไหลเวียนมากขึ้น ทำให้ลดอาการปวดเอ็นร้อยหวายและน่อง รวมไปถึงกำจัดของเสียที่คั่งค้าง เช่น กรดแลคติก ที่เป็นสาเหตุหลักของการเป็นตะคริว ภาพที่ 5 – ภาพเอ็นร้อยหวาย ( Achilles tendon ) จุดเชื่อมต่อของกล้ามเนื้อน่อง ( Gastrocnemius ) ภาพที่ 6 – ภาพนวดโดยใช้นิ้วเริ่มกดเบาๆ ตั้งแต่บริเวณบนขอบส้นเท้า แล้วค่อยๆ นวดขึ้นไปยังเอ็นร้อยหวาย หากท่านมีอาการปวดฝ่าเท้า หรือน่อง ท่านสามารถเลือกทรีตเมนท์นวดฝ่าเท้าพร้อมประคบร้อน หรือปรึกษานักกายภาพบำบัด เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่เซนวนา เวลเนส สามารถติดต่อเพื่อจองคิวและสอบถาม ได้ทางไลน์ @zenvanaspa หรือ โทร.090-654-4269 อ้างอิงจาก 1.
StayWell (2019). Understanding Plantar Fasciitis. https://www.floridafootankle.com/plantar-fasciitis-stretches-2/.2. Nikko Kim (2019). Treating the Achilles tendon. https://www.habit.co.nz/news-and-articles/2019-06-26/treating-the-achilles-tendon/.3. Mayo’s Clinic Staff. (2019). Plantar fasciitis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/plantar-fasciitis/symptoms-causes/syc-20354846.4.
ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา (2020).12- ความลับของการนวดฝ่าเท้า และกดจุดฝ่าเท้า, https://sites.google.com/site/nwdphaenthiy/withi-kar-nwd-khan-phun-than/khwam-lab-khxng-kar-nwd-fathea-laea-kd-cud-fathea,
โรครองช้ํา อันตรายไหม
แม้จะดูเหมือนโรคนี้ ไม่อันตรายร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันได้ หากมีอาการปวดส้นเท้าผิดปกติควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป